Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 21 ต.ค. -12 พ.ย. 2563 รวม 225 อัตรา,

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ลิงค์: https://ehenx.com/11597/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ,นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 225
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 21 ต.ค. – 12 พ.ย. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เรื่อง ประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน  

ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะดำเเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 30 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 20 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกรปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 20 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 150 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร


เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) หรือสาขาวิชานิติศาสตร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัตงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณและการบัญชีทั่วไปของส่วนราชการ เช่น การตรวจสอบหลักฐานใบสำคัญคู่จ่ายเงิน ลงบัญชี ทำรายงานการบัญชี รวบรวมรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการขอจัดตั้งงบประมาณ รายรับ-รายจ่ายประจำปี ทำหนังสือชี้แจงโต้ตอบด้านงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำนหด
  2. รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
  3. ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

2. ด้านการบริหาร

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
  2. ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัตงานด้านส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำความเห็นเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลังและการบริหารจัดการ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ จัดเก็บข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะนำในเบื้องต้น ติดตามลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางคำสั่งและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  2. ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการเงิน ด้านการคัง ด้านการบริหารจัดการและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้การดเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานเบื้องต้นในการจัดบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  4. ส่งเสริม สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ภาคประชาชนเพื่อให้ชุมชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกรม ในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการเงิน ด้านการคลัง ด้านการบริหารจัดการและด้านอื่นๆ ที่เกีย่วข้อง เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านการบริหาร

  1. นิเทศและให้คำปรึกษา แนะนำ กำหนดแนวทางและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบต่างๆ
  2. ร่วมส่งเสริมและเผยแพร่งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ แก่ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านวิาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิัิงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิชาการบัญชีของส่วนราชการ
  2. รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
  3. จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
  4. ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
  5. ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตการต่างๆ

นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานทางกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐษน เพื่อดำเนินการทางคดี การสอบสวน ตรวจพิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ และการร้องทุกข์ หรืออุทธรณ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. เสนอความคิดเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพือ่ให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
  3. ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินการคดีของหน่วยงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานวิาการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำความเห็น สรุปรายงาน เสนอแนะ ให้คำปรึกษา แนะนำและติดตามประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำแนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลังและการบริหารจัดการ เพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็.และมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ และปฏิบิัตหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ปฏิบัิตงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัิตการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำความเห็น สรุปรายงาน เสนอแนะ ให้คำปรึกษา แนะนำติดตามประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์แนวทางคำสั่ง และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  2. ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและประเมินผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการเงิน ด้านการคลัง และด้านการบริหารจัดการเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปอย่างมีประสิทะิภาพ
  3. ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  4. ส่งเสริม สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ภาคประชาชน เพื่อให้ชุมชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการบิรหารงานและการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินปอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกรม ในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการเงิน ด้านการคลัง ด้านการบริหารจัดการและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้นการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ส่งเสริมและเผยแพร่งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ แก่ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยขน์

วิชาที่สอบ

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินผ่นดิน พ.ศ.2561
  3. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญํติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. พระราชบัญญํติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  8. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  9. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  11. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
  12. พระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  13. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  14. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
  15. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
  16. พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
  17. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  18. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  19. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ.2553
  20. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน เการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562
  21. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  22. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  23. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  24. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  25. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2562
  26. หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561
  27. ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  28. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

เจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติงาน

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
  8. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
  9. พระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
  11. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  12. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
  13. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  14. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  15. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  16. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  17. ระเบียบกระทรวงมหา่ดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  18. ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  19. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินผ่นดิน พ.ศ.2561
  3. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญํติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. พระราชบัญญํติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  8. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  9. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  11. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
  12. พระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  13. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  14. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
  15. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
  16. พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
  17. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  18. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  19. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ.2553
  20. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน เการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562
  21. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  22. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  23. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  24. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  25. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2562
  26. หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561
  27. ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  28. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี

นิติกรปฏิบัติการ

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
  7. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  9. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
  10. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
  11. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
  12. พระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  13. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
  14. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562
  15. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  16. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  17. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  18. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น รองประธานสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น และที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2554
  19. ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  20. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนิติกร

นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปฏิบัติการ

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
  7. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  9. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
  10. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
  11. พระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  12. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
  13. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  14. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
  15. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  16. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  17. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  18. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  19. ระเบียบกระทรวงมหา่ดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  20. ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  21. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. – 12 พ.ย. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | เว็บรับสมัคร | 5 | 6 |

Comments

comments