Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กศน. เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 17 ก.ค. -30 ก.ค. 2563 รวม 318 อัตรา,

กศน.เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

"กศน."

ลิงค์: https://ehenx.com/9634/ หรือ
ตำแหน่ง: ครู
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,050-15,800
อัตราว่าง: 318
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,ตาก,นครนายก,นครปฐม,นครพนม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,น่าน,นนทบุรี,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปทุมธานี,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พะเยา,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,มหาสารคาม,มุกดาหาร,แม่ฮ่องสอน,ยโสธร,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สงขลา,สมุทรสาคร,สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม,สระแก้ว,สระบุรี,สิงห์บุรี,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,สตูล,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 17 ก.ค. – 30 ก.ค. 2563
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กศน. เปิดรับสมัคร

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงาน กศน. พ.ศ.2563

ด้วย อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงาน กศน. พ.ศ.2563 โดยดำเนินการตามมาตรา 19 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2560 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 14 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเปนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.6/85 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง การขอแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย และขอกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงาน กศน. และหนังสือสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่ ศธ 5102.1/3 ลงวันที่ 22 มกราคม 2563 เรื่อง หลักฐานที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพครู และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มติม หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 21 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2556 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 20 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ประกอบกับมติ อ.ก.ค.ศ.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 และครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563

อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชากรเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงาน กศน. พ.ศ.2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ครูผู้ช่วย จำนวนตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง จำนวน 318 อัตรา (เอกสารแนบท้ายประกาศ 2)

หน่วยที่ 1 พื้นที่ทั่วไป

อัตราว่าง : 224 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15,050-15,800  บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก:

  1. กลุ่มวิชาภาษาไทย จำนวน 11 อัตรา
  2. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 32 อัตรา
  3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 22 อัตรา
  4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 อัตรา
  5. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ จำนวน 24 อัตรา
  6. กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 11 อัตรา
  7. กลุ่มวิชาศิลปศึกษา จำนวน 3 อัตรา
  8. กลุ่มวิชาการพัฒนาสังคม จำนวน 27 อัตรา
  9. กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี จำนวน 32 อัตรา
  10. กลุ่มวิชาการบริหารและจัดการเรียนรู้ จำนวน 33 อัตรา
  11. กลุ่มวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 9 อัตรา

หน่วยที่ 2 พื้นที่ภาคใต้

อัตราว่าง : 81 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15,050-15,800  บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก:

  1. กลุ่มวิชาภาษาไทย จำนวน 5 อัตรา
  2. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 7 อัตรา
  3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 อัตรา
  4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 อัตรา
  5. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ จำนวน 7 อัตรา
  6. กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 3 อัตรา
  7. กลุ่มวิชาศิลปศึกษา จำนวน 2 อัตรา
  8. กลุ่มวิชาการพัฒนาสังคม จำนวน 12 อัตรา
  9. กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี จำนวน 10 อัตรา
  10. กลุ่มวิชาการบริหารและจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 อัตรา
  11. กลุ่มวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 2 อัตรา

หน่วยที่ 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ที่เป็นสถานศึกษา)

อัตราว่าง : 9 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15,050-15,800  บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก:

  1. กลุ่มวิชาฟิสิกส์ จำนวน 4 อัตรา
  2. กลุ่มวิชาเคมี จำนวน 2 อัตรา
  3. กลุ่มวิชาชีววิทยา จำนวน 1 อัตรา
  4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 2 อัตรา

หน่วยที่ 4 ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพฯ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15,050-15,800  บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก:

  1. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ จำนวน 4 อัตรา

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

ครูผู้ช่วย

มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา หรือปริญญาตรีสาขาอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วย และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจไม่หลังวันเปิดรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้าย ตามกลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่ประกาศรับสมัคร ดังนี้

หน่วยที่ 1 พื้นที่ทั่วไป และหน่วยที่ 2 พื้นที่ภาคใต้ จำนวน 11 กลุ่มวิชา

  1. กลุ่มวิชาภาษาไทย
  2. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ
  3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
  4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
  5. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ
  6. กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
  7. กลุ่มวิชาศิลปศึกษา
  8. กลุ่มวิชาการพัฒนาสังคม
  9. กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  10. กลุ่มวิชาการบริหารและจัดการเรียนรู้
  11. กลุ่มวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

หน่วยที่ 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ที่เป็นสถานศึกษา) จำนวน 1 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เท่านั้น และเฉพาะในทางหรือสาขาวิชาเอก ดังนี้

  1. ฟิสิกส์
  2. เคมี
  3. ชีววิทยา
  4. วิทยาศาสตร์ทั่วไป

หน่วยที่ 4 ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพฯ จำนวน 1 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ

ทั้งนี้ คุณวุฒิที่นำมาใช้ในการสมัครสอบแข่งขันจะจัดอยู่ในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตามนัยหนังสือ ก.ค.ศ. ที่ ศธ. 0206.6/ว 7 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2556 ที่ ศธ 0206.6/ว 4 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 และที่ ศธ 0206.6/ว 9 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน อยู่ก่อนหรือไม่หลังวันรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้าย และยังไม่หมดอายุ

ทั้งนี้ ในวันบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้ต้องยังไม่หมดอายุ

หมายเหตุ: "หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ" ไม่อนุญาตให้ใช้ในการสมัครคัดเลือก เนื่องจาก คุรุสภาออกให้สถานศึกษาที่มีเหตุผลและความจำ็นต้องการให้บุคคลที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถเข้าประกอบวิชาชีพครูได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากลาออกจากสถานศึกษาที่ขออนุญาตให้ การอนุญาตดังกล่าวเป็นอันยกเลิก จึงเ็นเหตุผลที่ไม่สามารถใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูที่เป็นของบุคคลได้

วิชาที่สอบ

วัน เวลา และสถานที่ในการสอบ ครูผู้ช่วย ภาค ก และภาค ข

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563

สอบภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  • เวลา 08.00-09.30 น. สอบวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
  • เวลา 10.00-11.30 น. สอบวิชาทักษะภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
  • เวลา 12.30-14.00 น. สอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

สอบภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

  • เวลา 14.30-16.00 น. สอบวิชามาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 75 คะแนน)
  • เวลา 16.30-18.00 น. สอบวิชามาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
  • เวลา 18.30-19.00 น. สอบวิชาความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิรูปทางการศึกษา (คะแนนเต็ม 25 คะแนน)

หมายเหตุ: สำหรับสถานที่ในการสอบ ภาค ก และ ภาค ข จะประกาศให้ทราบในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแข่งขัน ภาค ก และ ภาค ข

ภาค ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
  1. ความสามารถในการวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ให้ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
    1. การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การคีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
    2. การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสนมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ
    3. การคิดวิเคราห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล
  2. ทักษะภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่านโดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้น
  3. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เพื่อวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
ภาค ข. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
  1. มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 75 คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
    1. การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    2. จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
    3. หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
    4. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
    5. การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
  2. มาตรบานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอบ (วิชาเอก) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย

หน่วยที่ 1 พื้นที่ทั่วไป และหน่วยที่ 2 พื้นที่ภาคใต้

  1. กลุ่มวิชาเอกภาษาไทย
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การใช้หลักภาษาวรรณคดี วรรณกรรม และภาษากับการประกอบอาชีพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
  2. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทักษะแลเตจตคติเกี่ยวกับภาษา ท่าทาง การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ในภาษาต่างประเทศด้วยประโยคที่ซับซ้อนมากขึ้นในชีวิตประจำวัน และงานอาชีพของตนถูกต้องตจามหลักภาษา วัฒนธรรม และกาลเทศะของเจ้าของภาษา ได้แก่ 1. Everyday English 2. What should you do? 3. Hello Difference ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินการ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เขต และการให้เหตุผล อัตราส่วนตรีโกณมิติ การใช้เครื่องมือและการออกแบบผลิตภัณฑ์ สถิติเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และการใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สารเพื่อชีวิต แรงและพลังงานเพื่อชีวิต ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ และไฟฟ้า ซึ่งครอบคลุมความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 สาขาวิชาแบบองค์รวม ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิยา และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  5. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการขยายอาชีพ ทักษะการขยายอาชีพ การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
  6. กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ปัญหาเพศศึกษา อาหารและโภชนาการ เสริมสร้างสุขภาพ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความปลอดภัยจากการใช้ยา ผลกระทบจากสารเสพติด ทักษะชีวิตเพื่อสุขภาพจิต และอาชีพผลิตจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปตามหลักสุขาภิบาล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  7. กลุ่มวิชาศิลปศึกษา
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับ ทัศนศิลป์สากล ดนตรีสากล นาฏศิลป์สากล และการออกแบบกับแนวทางการประกอบอาชีพต่างๆ จากความรู้ด้านการออกแบบตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  8. กลุ่มวิชาพัฒนาสังคม
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับ
    1. สังคมศึกษา ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในโลก และการปรับใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อควมมั่นคงของชาติ
    2. ศาสนา และหน้าที่พลเมือง ได้แก่ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และหน้าที่พลเมือง
    3. การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม ได้แก่ หลักการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม สามารถวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  9. กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ระบบเลขฐานต่างๆ องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสารข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นระบบ สารสนเทศประเภทต่างๆ แนวคิดการพัฒนาโปรแกรม โปรแกรมประมวลผล โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ การประมวลผลข้อมูลทางสารสนเทศ ผลกระทบทางสังคม และจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  10. กลุ่มวิชาการบริหารและจัดการเรียนรู้
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษา ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การคิดเป็ฯ และการวิจัยอย่างง่ายตามมาตรฐานการเรียนรรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  11. กลุ่มวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาตลอดชีวิต

2. หน่วยที่ 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ที่เป็นสถานศึกษา)

  1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทาง/สาขาวิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : การสอบทั้ง 4 ทาง/สาขาวิชา เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจทาสงด้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 สาขาวิชาแบบองค์รวมได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สารเพื่อชีวิต แรงและพลังงานเพื่อชีวิต ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ และไฟฟ้าตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3. หน่วยที่ 4 ศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาอาชีพฯ

  1. กลุ่มวิชาการประกอบอาชีพ
    ขอบเขตเนื้อหาที่สอบ : ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการประกอบอาชีพ ทักษะการขยายอาชีพ การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ให้กำหนดเกณฑ์การประเมินและวิธีการให้คะแนนแบบรูปริค (Scoring Rubric) โดยมีองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้

  1. คุณลักษณะบุคคล (25 คะแนน) ให้ประเมินจากการสัมภาษณ์ ดังนี้
    1. บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
    2. วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
    3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
  2. การพัฒนาตนองและวิชาชีพ (25 คะแนน) ให้ประเมินตากแฟ้มสะสมงาน ดังนี้
    1. ประวัติการศ฿กษา
    2. ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิลชาเอกที่สำเร็จการศกึษา
    3. การเข้าถึงชุมชน และการมีจิตสาธารณะ
  3. ความสามารถด้านการสอน (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) ให้ประเมินจากการสอบสาธิตการปฏิบัิตการสอน โดยให้มีการบันทึกภาและเสียงในรูปแบบวิดีโอในขณะประเมินไว้เป็นหลักฐานด้วย ดังนี้
    1. การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบและการวางแผนการจัดการเรียนรู้
    2. ทักษะและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสาขาวิชาและบริบทของชั้นเรียน
    3. ทักษะการใช้คำถามแลการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้เรียน
    4. การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
    5. การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กศน. :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. – 30 ก.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กศน.

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments