“ราชกิจจาฯ ประกาศผ่อนปรนระยะที่ 3 ลดเวลาเคอร์ฟิว เดินทางข้ามจังหวัด“
ลิงค์: https://ehenx.com/8245/ หรือ
เรื่อง:
ราชกิจจาฯ ประกาศผ่อนปรนระยะที่ 3 ลดเวลาเคอร์ฟิว เดินทางข้ามจังหวัด
เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ผ่อนปรนระยะที่ 3 อย่างเป็นทางการ เริ่มลดเวลาเคอร์ฟิว เดินทางข้ามจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 นี้
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9) โดยในเนื้อหาสำคัญได้พูดถึงการผ่อนปรนระยะที่ 3 ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. การห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถาน ระหว่างเวลา 23.00 น. ถึงเวลา 03.00 น. และให้ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563 ยังคงใช้บังคับต่อไป
ให้ยานพาหนะ ผู้โดยสารตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะที่เป็นการขนส่งคนหรือสินค้าระหว่างจังหวัดที่เริ่มออกเดินทางจากจังหวัดต้นทางก่อนเวลา 23.00 น. และถึงจังหวัดปลายทางหลังเวลา 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น สามารถเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานได้
2. การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2563 ในระยะแรกนี้ให้ทยอยผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อจัดการศึกษา การอบรม การประชุมหรือเพื่อประโยชน์ในการสอบ หรือการคัดเลือกบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) การใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมของโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะประเภทวิชาชีพ และประเภทศิลปะและกีฬา (เฉพาะประเภทกีฬาที่ผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมได้)
โดยพิจารณาถึงจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ความพร้อมและความสามารถในการจัดรูปแบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การจัดสถานที่และระบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคเป็นสำคัญ
(2) การใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อการประชุม การจัดการสอบ การสอบคัดเลือก การฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน หรือดำเนินการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตาม (1) หรือ (2) ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด การจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ รวมทั้งคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด
3. การผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตำมข้อกำหนด (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 และข้อกำหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้สถานที่หรือการดำเนินกิจกรรมที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเคยมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักร ตามความสมัครใจและความพร้อม ดังต่อไปนี้
(1) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 21.00 น.
– ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดำเนินการจัดประชุม การแสดงสินค้า หรือการจัดนิทรรศการได้ โดยเป็นกิจกรรมซึ่งจำกัดพื้นที่รวมในการจัดงานขนาดไม่เกินสองหมื่นตารางเมตร และเปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 21.00 น.
ทั้งนี้ ให้งดเว้นการจัดการแข่งขัน กิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินการอื่นใด ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่นและอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
– สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง ให้เปิดดำเนินการได้โดยงดเว้นการจัดกิจกรรม ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่นและอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
(2) กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ
– คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
– สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย (งดเว้นการอบตัว อบสมุนไพรหรืออบไอน้ำแบบรวม และการนวดบริเวณใบหน้า) นวดฝ่าเท้า ยกเว้นสถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด
– สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นในการเล่นแบบรวมกลุ่มและงดเว้นการอบตัวหรืออบไอน้ำแบบรวม
– สถานที่ฝึกซ้อมมวย โรงยิมหรือค่ายมวย ให้เปิดได้เฉพาะเพื่อการฝึกซ้อมการชกลม โดยไม่มีคู่ชก การชกมวยแบบล่อเป้า โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและไม่มีผู้ชม
– สนามกีฬา ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมในประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและมีจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมที่อยู่ในบริเวณสนามกีฬา (ไม่นับรวมผู้เล่น) อีกไม่เกินสิบคน
– สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ตหรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะเพื่อการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม
– สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ
– สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง เช่น เจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ เครื่องเล่น ประเภทบานาน่าโบ๊ท ให้เปิดดำเนินการได้โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและจำกัดจำนวนผู้เล่น
– โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 200 คน สำหรับโรงมหรสพในระยะแรกนี้ให้เปิดเฉพาะการจัดแสดงลิเก ลำตัด หรือการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ ก่อน โดยงดเว้นการจัดแสดงดนตรีหรือคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมอื่นที่อาจมีความเสี่ยงต่อการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลและการแพร่กระจายเชื้อ
– สวนสัตว์หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์ ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม ในพื้นที่จัดกำรแสดงที่เป็นการรวมกลุ่ม
– ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดำเนินการโดยจำกัดเวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละสองชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
อดีตบิ๊กข่าวกรอง ยกบทเรียน อเมริกันชนร่ำหาเสรีภาพแลกดับเกินแสน : คมชัดลึกออนไลน์
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ให้เปิดได้เฉพาะการปฏิบัติงานที่จำเป็นของเจ้าหน้าที่เพื่อการนัดหมาย จัดสรรและแจกจ่ายเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน และการจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
4. การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ในข้อ 2 หรือข้อ 3 มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการ
กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ตามข้อ 2 และการดำเนินการ ของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 3 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด หากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีคำสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้เปิดดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้
5. การผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ตามที่รัฐบาลมีคำแนะนำให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจากการประเมินของฝ่ายที่เกี่ยวข้องพบว่ามาตรการดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่งส่งผลให้สำมารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนกลับมีสภาพใกล้เคียงกับวิถีชีวิตตามปกติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงเห็นสมควรผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยประชาชนผู้เดินทางซึ่งรวมถึงผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค กำรจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนดด้วยซึ่งอาจไม่สะดวกและจำเป็นต้องก่อภาระแก่ผู้เดินทางได้โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การจราจรคับคั่ง หรือมีเหตุพิเศษ
ทั้งนี้ หากพบว่าผู้เดินทางมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคหรือเป็นพาหะนำโรค พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการสั่งแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อป้องกันการแพร่ระบำดของโรคได้
6. ในกรณีมีปัญหาว่าสถานที่หรือกิจกรรมใดเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดนี้หรือไม่ ให้หารือคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นประธาน
7. การแสดงตนโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ หรือแอบอ้างว่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการ เรียก รับ ยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ หรือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ จากการใช้สถานที่ของเอกชนเพื่อการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต หรือเจตนาแกล้งให้ผู้อื่นมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือข้อกำหนดซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการเรียกเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนจากการไม่ดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้ประสบเหตุดังกล่าวให้แจ้งต่อศูนย์ดำรงธรรมได้ทั่วราชอาณาจักร หรือแจ้งต่อศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบำล
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี