ทำความรู้จักกับ #Covid-19

ทำความรู้จักกับ #Covid-19

ลิงค์: https://ehenx.com/6819/ หรือ
เรื่อง:


ทำความรู้จักกับ #Covid-19 โควิด-19 เข้าสู่เซลล์มนุษย์ได้อย่างไร ทำไมจึงระบาดได้รวดเร็วนัก

เมื่อเดือนธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา โลกได้รู้จักไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่ 7 นั่นคือ ไวรัสโคโนนา 2019-nCoV ซึ่งก่อให้เกิดการระบาดของโรคปอดอักเสบปริศนาในเมืองอู่ฮั่นของประเทศจีน ที่ในเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อไวรัสนี้เป็น SARS-CoV-2 เนื่องจากพบว่ารหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาใหม่ล่าสุดนี้มีส่วนคล้ายกับไวรัสโคโรนา SARS-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สเมื่อปี 2003 มากถึง 79% 

เหตุผลหนึ่งที่ไวรัสโคโรนาซาร์สเวอร์ชัน 2 หรือ SAR-CoV-2 สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว ปรากฏอยู่ในรายงานวิจัย ที่ลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2020 ในวารสาร Sciencemag ที่ทีมวิจัยพบว่า สไปค์โปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 นี้ สามารถจับกับตัวรับ ACE2 บนเซลล์มนุษย์ได้อย่าง ‘ยึดแน่น’ กว่าไวรัสโคโรนา SAR-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สเมื่อปี 2003 ถึง 10 เท่า

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนมาก ไม่ปรากฏว่ามีอาการของโรคให้เห็นเลยแม้แต่น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ แต่บุคคลเหล่านั้น​กลับสามารถเป็นพาหะนำโรคไปสู่วงกว้าง ซึ่งยากแก่การป้องกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนโรคซาร์สสมัยปี 2003 ที่ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ได้ง่ายกว่า

ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ คำถามนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน หรืออาจมองได้อีกแบบว่า ไวรัสมีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีสมบัติของเซลล์ ไวรัสไม่มีเบตาบอลิซึม ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ ประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกชนิด DNA หรือ RNA ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อใดที่ไวรัสสามารถผ่านเข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ มันก็จะเริ่ม Copy ตัวเองออกมาเรื่อยๆ ‘อย่างอัตโนมัติ’ จนมีจำนวนมาก จากนั้นก็จะออกจากเซลล์โฮสต์ที่หมดสภาพ ซึ่งอาจตายหรือเปลี่ยนสภาพไป และเริ่มวนลูปทำซ้ำกับเซลล์ปกติเซลล์อื่นต่อไปเรื่อยๆ แต่หากไม่พบเซลล์สิ่งมีชีวิตใดๆ ไวรัสก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่เพิ่มจำนวน และสุดท้ายหากสภาพแวดล้อมไม่อำนวย มันก็จะสลาย หรือ ‘ตาย’ ไปในที่สุด

ไวรัสมีหลากหลายชนิด หลากหลายรูปลักษณ์ทั้งแบบแท่ง แบบกลม หรือรูปทรงไม่สมมาตร โดยปกติแล้วไวรัสจะสามารถเข้าสู่เซลล์ และทำสำเนาตัวเองในเซลล์เป้าหมายที่เหมาะสมกับไวรัสแต่ละชนิดเท่านั้น เช่น ไวรัสพืช ก็จะเจาะเข้าไปได้เฉพาะในเซลล์พืช ไม่ส่งผลอะไรต่อเซลล์สัตว์และมนุษย์ ไวรัสในสัตว์ก็เช่นกัน จะส่งผลต่อสัตว์เท่านั้น ไม่มีผลต่อพืชหรือมนุษย์ ยกเว้นไวรัสจากสัตว์นั้นเกิดการกลายพันธุ์ จนสามารถขยายจำนวนในเซลล์มนุษย์ได้ เราเรียกว่าเกิดลักษณะ ‘Zoonotic’ คือระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์

ไวรัสโคโรนา หรือ CoV เป็นไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยวเชิงบวกที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ และส่วนใหญ่เราจะพบว่าไวรัสโคโรนาจะระบาดเฉพาะในสัตว์ เช่น ไวรัสโคโรนา bat-SL-CoVZC45 หรือ bat-SL-CoVZXC21 ที่ระบาดในสัตว์จำพวกค้างคาว เป็นต้น 

แต่ท่ามกลางจำนวนสายพันธุ์ที่หลากหลายนั้น มีไวรัสโคโรนาอยู่ 6 สายพันธุ์ ที่เกิดลักษณะ ‘Zoonotic’ นั่นคือการระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์ อันได้แก่ ไวรัสโคโรนา  HCoV-229E, HCoV-NL63, HCoV-OC43 และไวรัสโคโรนา HCoV-HKU1 ซึ่งทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ส่งผลให้มนุษย์มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัด แต่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก 

อีก 2 สายพันธุ์ที่เหลือที่เราน่าจะรู้จักกันดีเนื่องจากมีการระบาดระหว่างมนุษย์ด้วยกันจนเป็นข่าวไปทั่วโลกในยุคหนึ่ง นั่นคือไวรัสโคโรนา MERS-CoV ที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคเมอร์สเมื่อปี 2012 และไวรัสโคโรนา SARS-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส เมื่อปี 2003 

และแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา โลกก็ได้รู้จักไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่ 7 นั่นคือ ไวรัสโคโนนา 2019-nCoV ซึ่งก่อให้เกิดการระบาดของโรคปอดอักเสบปริศนาในเมืองอู่ฮั่นของประเทศจีน ที่ในเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อไวรัสนี้เป็น SARS-CoV-2 เนื่องจากพบว่ารหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาใหม่ล่าสุดนี้มีส่วนคล้ายกับไวรัสโคโรนา SARS-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สเมื่อปี 2003 มากถึง 79% (บางงานวิจัยให้มากถึง 86%)

[ที่ผ่านมา โรคระบาดจากไวรัสโคโรนาจะตั้งชื่อโรคตามชื่อของไวรัส เช่น โรคเมอร์ส จากไวรัสโคโรนา MERS-CoV หรือโรคซาร์ส จากไวรัสโคโรนา SARS-CoV แต่มาครั้งนี้ องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อโรคจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 นี้ต่างออกไปจากวิธีการเดิม โดยให้เรียกชื่อโรคนี้ว่าโรค COVID-19 (โควิด-19) ซึ่งย่อมาจาก Coronavirus Disease 2019]

ไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไหน

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่มนุษย์ มักเกิดจากการแพร่จากสัตว์ข้ามสายพันธุ์ก่อน โดยไวรัสจะไปกลายพันธุ์ในสัตว์ตัวกลาง เช่น ไวรัส MERS-Cov นั้นจะระบาดจากค้างคาวไปสู่อูฐ ซึ่งเป็นสัตว์ตัวกลางแล้วจึงข้ามมาสู่มนุษย์ 

มีผลการศึกษาล่าสุดว่าต้นกำเนิดของไวรัสโคโนาสายพันธุ์ใหม่หรือ SARS-Cov-2 อยู่ในค้างคาวเกือกม้าจีน (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Rhinolophus affinis) เนื่องจากพบระดับความเหมือนของจีโนมถึง 96.2% กับไวรัส BatCoV RaTG13 ที่แพร่ระบาดอยู่ใน​ค้างคาวชนิดนี้ จากนั้นไวรัสก็จะเริ่มระบาดเข้าสู่สัตว์ตัวกลาง ซึ่งในช่วงสองเดือนแรกเหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็เกิดความสับสนว่าสัตว์ตัวกลางนี้คืออะไร เนื่องจากในตลาดสดหัวหนานในเมืองอู่ฮั่นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสนั้นส่วนใหญ่จะจำหน่ายอาหารทะเล ซึ่งเป็นการยากที่ไวรัสจะระบาดจากสัตว์เลือดอุ่นข้ามไปหาสัตว์เลือดเย็นเช่นสัตว์ทะเลเหล่านั้น จนมีหลายกลุ่มตั้งข้อสงสัยว่า ที่ไม่สามารถหาสัตว์ที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างมนุษย์กับค้างคาวก็เพราะ SARS-CoV-2 เป็นไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นในห้องแล็บ 

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

ต่อมาก็มีงานวิจัยที่พบว่า จีโนมไวรัสอาจเข้ากันได้กับงูทับสมิงคลาจีน ซึ่งไม่นานก็มีรายงานวิจัยออกมาปฏิเสธในเรื่องนี้ และสุดท้ายหลังมีการค้นหาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมีนาคมปี 2020 ก็มีรายงานวิจัยออกมาว่า สัตว์ตัวกลางที่เป็นสะพานเชื่อมไวรัสจากค้างคาวสู่มนุษย์ก็คือ ‘ตัวนิ่ม’ ที่มีขายในตลาดสดหัวหนานนั่นเอง เป็นการจบข่าวลือเรื่องไวรัสประดิษฐ์ที่ปิดท้ายด้วยรายงานวิจัย​อีกชิ้นที่ยืนยันว่าไวรัสนี้มาจากธรรมชาติ​จริงๆ ไม่ใช่มาจากการสร้างขึ้นในห้องแล็บใดๆ

ขั้นตอนเข้าสู่เซลล์มนุษย์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 

เอกลักษณ์ของไวรัสตระกูลโคโรนาทั้งหลายที่เหมือนกันคือ จะมีรูปร่างกลมและมีหนามรอบตัวเหมือนแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก ‘โคโรนา’ นี้ หนามของไวรัสโคโรนาคือสไปค์โปรตีน (Spike Protein) หรือ เอส-โปรตีน ที่มีชื่อเรียกว่า RBD หรือ Receptor-Binding Domain ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ไวรัสโคโรนาใช้สำหรับบุกรุกเข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต​อื่น 

ขั้นตอนการเข้าสู่เซลล์นั้น ไวรัสโคโรนาแต่ละสายพันธุ์จะใช้ RBD ไปจับกับ ‘ตัวรับ’ ของเซลล์มนุษย์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ไวรัสโคโรนา MERS-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคเมอร์สในปี 2012 นั้นจะใช้เอสโปรตีนของมันไปจับกับ ‘ตัวรับ’ ที่เป็นโปรตีน DPP4 ของเซลล์มนุษย์ ส่วนไวรัสโคโรนา SARS-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สในปี 2003 และไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ในเวลานี้ต่างก็จะเข้าไปจับกับ ‘ตัวรับ’  

Angiotensin-Converting Enzyme 2 หรือ ACE2 ที่เปลือกของเซลล์มนุษย์เหมือนๆ กัน จากนั้นมันก็จะสลายเปลือกออกแล้วส่งกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ RNA ของมันเข้าไปเริ่มกระบวนการ ‘ทำสำเนา’ ในเซลล์เป้าหมายนั้น

ทำไม SAR-CoV-2 ถึงระบาดได้เร็วนัก

ไวรัสโคโรนา SAR-CoV เวอร์ชันแรกที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สระบาดในช่วง 8 เดือนของปี 2003 นั้น ได้ทำให้มีผู้ป่วยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 8,098 ราย มีผู้เสียชีวิต 774 ราย ซึ่งหากเทียบกับไวรัสโคโรนาซาร์สเวอร์ชัน 2 หรือ SAR-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ในเวลานี้จะพบว่า ความเร็วในการระบาดแตกต่างกันมากมายหลายเท่าอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะในเวลาไม่ถึง 4 เดือนนับจากวันที่ 8 ธันวาคม 2019 ถึง 3 เมษายน 2020 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกินกว่า 1 ล้านราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเกินกว่า 5 หมื่นรายเลยทีเดียว

เหตุผลแรกที่ไวรัสโคโรนาซาร์สเวอร์ชัน 2 หรือ SAR-CoV-2 สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว ปรากฏอยู่ในรายงานวิจัย ที่ลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2020 ในวารสาร Sciencemag ที่ทีมวิจัยพบว่า สไปค์โปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 นี้ สามารถจับกับตัวรับ ACE2 บนเซลล์มนุษย์ได้อย่าง ‘ยึดแน่น’ กว่าไวรัสโคโรนา SAR-CoV ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สเมื่อปี 2003 ถึง 10 เท่า

เหตุผลที่ 2 ปรากฏในรายงานวิจัย ที่ลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2020 ในวารสาร Nature ที่ทีมวิจัยพบว่าเอนไซม์ที่เรียกว่า ‘ฟูริน’ (Furin) ที่มีอยู่ตามเซลล์ต่างๆ ในอวัยวะภายในหลายแห่งของร่างกายมนุษย์ มีผลไปกระตุ้นสไปค์โปรตีนของไวรัสโคโรนา SAR-CoV-2 ให้เข้ามาจับกับ ‘ตัวรับ’ ได้ง่ายขึ้นกว่าไวรัสโคโรนา SAR-CoV เวอร์ชันแรก ซึ่งไม่ถูกกระตุ้นโดยเอนไซม์ที่เรียกว่า ‘ฟูริน’ นี้แต่อย่างใด

เหตุผลที่ 3 ปรากฏในบทความจาก The Guardian อ้างถึงงานวิจัยหลายชิ้น​ที่พบว่า สไปค์โปรตีนของไวรัสโคโรนา SAR-CoV-2 นั้น ‘แข็งแรง’ กว่าสไปค์โปรตีนของ ไวรัสโคโรนา SAR-CoV ถึง 4 เท่า และสามารถจับกับ ‘ตัวรับ’ ของเซลล์ทางเดินหายใจส่วนบนได้เลย ไม่ต้องลงลึกไปถึงปอดเหมือนไวรัสโคโรนาเวอร์ชันแรก รวมทั้งการที่ถูกกระตุ้นผ่านทางเอนไซม์ ‘ฟูริน’ ทำให้ไวรัสโคโรนา SAR-CoV-2 สามารถเช้าไปจับกับเซลล์ที่อวัยวะภายในหลายแห่งได้พร้อมๆ กัน 

เหตุผลที่ 4 คือผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนมาก ไม่ปรากฏว่ามีอาการของโรคให้เห็นเลยแม้แต่น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ แต่บุคคลเหล่านั้น​กลับสามารถเป็นพาหะนำโรคไปสู่วงกว้าง ซึ่งยากแก่การป้องกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนโรคซาร์สสมัยปี 2003 ที่ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 บางคนยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้อีกถึง 8 วัน หลังจากอาการต่างๆ หายดีหมดแล้ว นั่นยิ่งทำให้การระวังป้องกันยากเข้าไปอีก 

เหตุผลที่ 5 คือไวรัสโคโรนา SAR-CoV-2 ยังมีความใหม่ต่อการเรียนรู้ เช่น ความสามารถในการแพร่เชื้อทางอากาศหรือ Airborne นั้นก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนตามข้อแถลงขององค์การอนามัยโลก หรือปริศนาการกลับมาเป็นซ้ำ นั่นคือการที่ผู้ป่วยหลายรายในประเทศจีนและญี่ปุ่นที่มีผลทดสอบเชื้อเป็นลบ และกลับออกจากโรงพยาบาลแล้ว พบว่าเวลาผ่านไปไม่นานผลทดสอบเชื้อในผู้ป่วยเหล่านี้กลับเป็นบวกอีกครั้ง และยังมีอีกมากที่เหล่าแพทย์ทั่วโลกและนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า ได้รู้จักไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้อย่างชัดเจนแล้ว เป็นผลให้อัตราการระบาดคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากความยากในการระวังป้องกัน

เหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าโลกกำลังประสบภัยพิบัติใหม่ที่มนุษย์ต้องทุ่มเทสรรพความรู้ รวมทั้งทรัพยากรทุกสิ่งที่มีเพื่อแข่งขันเอาชีวิตรอดกับวัตถุจากธรรมชาติ ที่แน่นอนว่าไม่มีสมองและเกือบจะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตเช่นไวรัส เวลาทุกวินาทีถูกใช้ไปกับการพยายามเข้าใจ SARS-CoV-2 แต่อย่างน้อยเรารู้แล้วว่ามันเข้าสู่เซลล์ของเราอย่างไร นั่นนำไปสู่การสร้างวัคซีน เรารู้แล้วว่ามันเข้าสู่ร่างกายของเราอย่างไร นั่นนำไปสู่การปรับวิถีการใช้ชีวิต อยู่ให้ห่างกัน ล้างมือที่ปนเปื้อนเพื่อไม่ให้ส่งไวรัสเข้าสู่ตา จมูก ปากโดยไม่รู้ตัว สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเข้าใกล้กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รอจนกว่าเราจะเข้าใจไวรัสนี้อย่างแจ่มแจ้ง และวันนั้นชัยชนะของมนุษย์ก็จะมาถึง

แหล่งที่มา

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.