“กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่“
ลิงค์: https://ehenx.com/2760/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการสิ่งแวดล้อม,นายช่างเหมืองแร่,นายช่างเครื่องกล,นายช่างโยธา,นายช่างรังวัด
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-15,000
อัตราว่าง: 5
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 21 พ.ค. – 10 มิ.ย. 2562
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดรับสมัครสอบ
เรื่อง
จึงประกาศรับสมัครบุคคล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อัตราเงินเดือน :15000 บาท
ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน :11500 บาท
ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปวส.
อัตราเงินเดือน :11500 บาท
ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปวส.
อัตราเงินเดือน :11500 บาท
ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปวส.
อัตราเงินเดือน :11500 บาท
ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต หรือสาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขา วิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขา วิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน เกี่ยวกับงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ช่วยปฏิบัติการเกี่ยวกับการสำรวจ รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมินผลข้อมูลและการดำเนินงาน ติดตามตรวจสอบ สภาวะแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดและปรับปรุง นโยบาย แผน มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ เงื่อนไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) ช่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอความเห็น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
(3) ร่วมพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ชี้แจงและตอบปัญหาเกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม แก่ส่วนราชการ หน่วยงานเอกชนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ความรู้และข้อมูลที่ต้องการ
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จัดทำสถิติ รายงาน หรือฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ และประโยชน์ในการพิจารณากำหนดและปรับปรุง นโยบาย แผน มาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ เงื่อนไข และกฎหมายที่เกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา เกี่ยวกับงานด้านช่างเหมืองแร่ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรเหมืองแร่ ในการรวบรวมข้อมูลหรือศึกษาในงานอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น การทำเหมืองแร่ การแต่งแร่ การขุด การเจาะ เพื่อประกอบการวางแผนการสำรวจแร่ การทำเหมือง การแต่งแร่ รวมทั้งการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพื่อการสาธิตวิธีการทำเหมือง การแต่งแร่
(2) ติดตามตรวจสอบร่วมกับวิศวกรเหมืองแร่ ในการกำกับดูแลการประกอบการเหมืองแร่ การแต่งแร่ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
(3) ปฏิบัติงานร่วมกับนักวิชาการสิ่งแวดล้อมในการรวบรวมข้อมูลด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูสภาพเหมืองแร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ติดตาม ตรวจสอบร่วมกับนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในการกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้ประกอบการเหมืองแร่ แต่งแร่ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(5) ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ในกรณีที่มีการร้องเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับเหมืองแร่ เพื่อส่งข้อมูลประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของผู้บังคับบัญชา
2. ด้านการบริการ
(1) ให้บริการข้อมูล และคำปรึกษาแนะนำ ในงานอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่เพื่อให้ผู้สนใจสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจ
(2) ให้บริการออกแบบ วางแผน ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น แก่ผู้ประกอบการและหน่วยงานอื่นๆ ที่ขอความช่วยเหลือ เพื่อให้การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างเหมาะสม
(3) เผยแพร่และจัดกิจกรรมในการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการเหมืองแร่ เพื่อให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการเหมืองแร่
(4) ติดต่อ ประสานงาน กับส่วนงานต่างๆ ในหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับแนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(2) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(3) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่างความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
(2) ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(4) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(5) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฝึกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ทีสนใจได้รับทราบข้อมูลความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(2) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างรังวัด ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ดำเนินการสำรวจ รังวัด เพื่อทำแผนที่ ในการสอบเขต การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ประทานบัตร และการรังวัดทำแผนที่ประเภทอื่น ๆ
(2) สำรวจ จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพจากสภาพพื้นที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและปรับปรุงแผนที่ให้ตรงตามสภาพการใช้ประโยชน์
(3) รังวัดเพื่อวางโครงหมุดหลักฐานแผนที่ จัดสร้างหรือปรับปรุงระวางแผนที่ ตรวจสอบและรับรองผลการรังวัด จัดทำบัญชีควบคุมการสร้างและการใช้ระวางแผนที่
(4) รวบรวมระเบียบและวิธีการรังวัดทำแผนที่ เพื่อให้เกิดความถูกต้องเหมาะสมกับทุกฝ่าย
(5) สอบสวน ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเกี่ยวกับการรังวัดทำแผนที่ของประชาชน หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในระดับเบื้องต้น เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและประชาชน
(6) จัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์การรังวัดและควบคุมการเบิกจ่ายหลักฐาน การรังวัดต่าง ๆ เพื่อใช้ในการรังวัดทำแผนที่ให้มีประสิทธิภาพ
(7) ดำเนินการทดสอบความรู้ ตรวจสอบเครื่องมือรังวัด การปฏิบัติงานของช่างรังวัดเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเกี่ยวกับงานรังวัดทำแผนที่ จัดสร้างระวางแผนที่ แนวเขตที่ดินของรัฐที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์
(2) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานรังวัด และแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
วิชาที่สอบ
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
– ความรู้เกี่ยวกับงานสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่
– ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
– ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเหมืองแร่
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ และภารกิจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
– ความรู้เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่เบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับการแต่งแร่เบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์แร่ในภาคอุตสาหกรรม
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง
– ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเหมืองแร่
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
– ความรู้เกี่ยวกับงานช่างเครื่องกล
– ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์
– ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลและยานพาหนะ
– ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
– การเขียนแบบเครื่องกล
– กลศาสตร์วิศวกรรม
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
– ความรู้เกี่ยวกับงานก่อสร้าง
– ความรู้เกี่ยวกับงานโยธา
– ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจและการเขียนแบบ
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
– งานวงรอบ งานโครงข่ายสามเหลี่ยม การวัดมุมและปรับแก้มุม การวัดระยะและปรับแก้ระยะชั้น หรือเกณฑ์ของงานวงรอบ การทำแผนที่รายละเอียด
– การคำนวณและเขียนแผนที่ เป็นการคำนวณเนื้อที่จากค่าพิกัด โดยวิธีพิกัดฉาก หลักการเขียนแผนที่ภูมิประเทศจากข้อมูลสำรวจ
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดหมุดหลักฐาน และการรังวัดทำแผนที่ด้วยระบบดาวเทียม การทำแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ และระบบภูมิสารสนเทศ
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือรังวัดทำแผนที่ : เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม, กล้องสำรวจแบบต่าง ๆ
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. – 10 มิ.ย. 2562 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |