Categories
breaking news

พรบ.คุ้มครองแรงงานแก้ไขฉบับที่7สิทธิ-สวัสดิการเพียบ

พรบ.คุ้มครองแรงงาน

พรบ.คุ้มครองแรงงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/2578/ หรือ
เรื่อง: แก้ไขฉบับที่7สิทธิ-สวัสดิการเพียบ


พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

5 เม.ย. 62 -ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติเดิม ซึ่งระบุว่า มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับดังดล่าว จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง หลักๆ คือ 1.หากนายจ้างไม่คืนเงินหลักประกัน ไม่จ่ายเงินกรณีบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี

2.กรณีมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ทำให้ลูกจ้างต้องไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

3.กรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

4.ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

5.ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 แปดวัน โดยหมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยยังได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงาน แต่ไม่เกิน 45 วัน

6.กรณีนายจ้างต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง

7.อัตราค่าชดเชยการเลิกจ้าง เพิ่มเป็น 6 อัตรา คือ อัตราที่ 1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน อัตราที่ 2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน อัตราที่ 3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ค่าชดเชย 180 วัน อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ได้ค่าชดเชย 240 วัน อัตราที่ 5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน และอัตราที่ 6 ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน โดยต้องจ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย

8.นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปแห่งใหม่ ให้ประกาศแจ้งลูกจ้างทราบล่วงหน้า ในที่เปิดเผยที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันย้าย ต้องมีข้อความชัดเจนว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด หากไมทำให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงานที่ใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และไม่ประสงค์จะไปทำงานแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ

9.ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิงในงานที่มีค่าเท่าเทียมกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 วัน

ดาวน์โหลด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานแก้ไขฉบับที่7สิทธิ-สวัสดิการเพียบ

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.