Categories
รายงานพิเศษ

ประกาศราชกิจจาฯ อนุญาตผลิต-จำหน่าย,กัญชง,เฮมพ์

ประกาศราชกิจจาฯ

ประกาศราชกิจจาฯ

ลิงค์: https://iqepi.com/36966/ หรือ
เรื่อง: อนุญาตผลิต-จำหน่าย,กัญชง,เฮมพ์


ประกาศราชกิจจาฯ อนุญาตผลิต-จําหน่าย “เฮมพ์” หรือ “กัญชง”

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐ กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๙

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคสาม และมาตรา ๖๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ กฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย นําเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ มิให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ และให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้
“เฮมพ์” (Hemp) หมายความว่า พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp.
sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง ซึ่งตรวจวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
“เมล็ดพันธุ์รับรอง” หมายความว่า เมล็ดพันธุ์เฮมพ์จากพันธุ์พืชที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดร
แคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง ทั้งนี้ ตามที่
คณะกรรมการประกาศกําหนด โดยการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์และเป็นพันธุ์พืช
ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
เฉพาะเฮมพ์
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้
“หนังสือสําคัญ” หมายความว่า หนังสือสําคัญแสดงการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ใน
ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ และให้หมายความรวมถึงใบแทนหนังสือ
สําคัญ โดยให้ถือเสมือนเป็นใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
“ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐ
ที่คณะกรรมการประกาศกําหนดให้ตรวจหาสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมาย

หมวด ๑
การขออนุญาต
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ในการขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
(๒) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์
(๓) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับการศึกษาวิจัย
(๔) เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองสําหรับจําหน่าย หรือแจกสําหรับการส่งเสริมตามวัตถุประสงค์
(๑) (๒) หรือ (๓)
(๕) เพื่อจําหน่ายเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต สําหรับ
ใช้ประโยชน์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด แล้วแต่กรณี
(๖) เพื่อครอบครองสําหรับใช้ประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
การดําเนินการตามวัตถุประสงค์ใน (๑) และ (๒) ห้ามมิให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์สําหรับ
การเพาะปลูก
ข้อ ๕ ให้ผ้อนู ุญาตพิจารณาอนุญาตตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีผู้ขอรับหนังสือสําคัญเป็นบุคคลธรรมดาต้อง
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(ค) มีถิ่นที่อยู่หรือสํานักงานในประเทศไทย
(ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(จ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือหนังสือสําคัญ
ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

(ช) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๒) กรณีผู้ขอรับหนังสือสําคัญเป็นนิติบุคคล
(ก) ต้องมีลักษณะตาม (๑) (ก) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช)
(ข) ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะตาม (๑)
(ค) กรรมการของนิติบุคคลอย่างน้อยสองในสามเป็นผู้มีสัญชาติไทย
ในกรณีวิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการแทน
ต้องมีลักษณะตาม (๑) ด้วย
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ให้ยื่นคําขอต่อผู้อนุญาตตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(๒) สําเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สําเนาใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หรือวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
(๔) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้มของผู้ขออนุญาตหรือผู้ซึ่งได้รับ
มอบหมายให้ดําเนินกิจการ ขนาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จํานวน ๒ รูป
(๕) หนังสือแสดงว่าตนเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาต
กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล หรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนวิสาหกิจชุมชน กรณีผู้ขออนุญาต
เป็นวิสาหกิจชุมชน
(๖) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน กรณีผู้ขออนุญาต
เป็นนิติบุคคล
(๗) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่เพาะปลูกและเส้นทางการเข้าถึงสถานที่เพาะปลูก ระบุพิกัด
ขนาดพื้นที่ที่ขออนุญาต และสถานที่ใกล้เคียง
(๘) แผนการผลิต การจําหน่าย และการใช้ประโยชน์
(๙) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๗ การยื่นคําขอรับหนังสือสําคัญให้ยื่น ณ ท้องที่ที่สถานที่ผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ใน
ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์นั้นตั้งอยู่ ดังต่อไปนี้
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สํานักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
หน้า ๔
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(๒) ในท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอแห่งท้องที่ที่สถานที่ผลิต
จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองตั้งอยู่ และให้สํานักงานสาธารณสุขอําเภอตรวจสอบคําขอเบื้องต้น
แล้วเสนอต่อสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อดําเนินการต่อไป

หมวด ๒
การอนุญาต
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําขออนุญาตแล้วให้ตรวจสอบรายละเอียดในคําขออนุญาต
เอกสารและหลักฐานว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ในกรณีที่ปรากฏว่ารายละเอียดในคําขออนุญาตเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามที่กําหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ดําเนินการตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคําขออนุญาตแจ้ง
ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตและให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่ารายละเอียดในคําขออนุญาต เอกสารและหลักฐาน
มีความถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีขออนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร ให้พิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อเสนอคณะกรรมการต่อไป
(๒) กรณีขออนุญาตในท้องที่จังหวัดอื่น ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเสนอคําขออนุญาต
ต่อคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมอบหมายให้พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
แล้วเสนอคําขออนุญาตพร้อมด้วยความเห็นมายังสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อเสนอ
คณะกรรมการต่อไป
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เลขาธิการเสนอรัฐมนตรีพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ต่อไป
ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาอนุญาต ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายออกหนังสือสําคัญ
เพื่อแสดงการอนุญาต ตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๑๐ ในกรณีหนังสือสําคัญสูญหาย ถูกทําลาย หรือลบเลือนในสาระสําคัญ ให้ผู้รับอนุญาต
ยื่นคําขอรับใบแทนหนังสือสําคัญต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) ใบแจ้งความ กรณีหนังสือสําคัญสูญหาย
(๒) หนังสือสําคัญฉบับเดิม กรณีหนังสือสําคัญถูกทําลายบางส่วนหรือลบเลือนในสาระสําคัญ
(๓) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หน้า ๕
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
ใบแทนหนังสือสําคัญให้ใช้ตามแบบหนังสือสําคัญฉบับเดิม แต่ให้กํากับคําว่า “ใบแทน”
ไว้ที่ด้านหน้าด้วย

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

หมวด ๓
การดําเนินการ
ข้อ ๑๑ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปลูกเฮมพ์ในสถานที่ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญเท่านั้น
(๒) ในการปลูกทุกครั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์รับรองจากผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองที่ได้รับอนุญาต
และให้ใช้เมล็ดพันธุ์รับรองดังกล่าวในฤดูกาลเพาะปลูกเดียว ทั้งนี้ ไม่ใช้กับการปลูกของผู้รับอนุญาต
ตามข้อ ๔ (๓)
(๓) จัดทําแนวเขตพื้นที่การเพาะปลูกที่เห็นได้ชัด
(๔) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์
ของการผลิต เช่น สถานที่เพาะปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ
ชื่อผู้รับอนุญาต และเวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในท่ีเปิดเผย เห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
(๕) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ
(๖) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
หรือกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองเหลือจากการเพาะปลูกตาม (๒) ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๗) ผู้รับอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ตามข้อ ๔ (๒) (๓) และ (๔) ต้องจัดให้มีการตรวจ
วิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ในเฮมพ์
ที่ปลูกทุกครั้งที่มีการผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด หลักฐานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว
ให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันตรวจวิเคราะห์ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
กรณีที่ผู้รับอนุญาตตรวจพบปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
เกินกว่าที่คณะกรรมการประกาศกําหนดให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทําลาย
(๘) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองที่แสดง
(ก) ข้อมูลชื่อพันธุ์
(ข) อัตราความงอกของเมล็ดพันธุ์รับรอง และระบุวันเดือนปีที่ทดสอบ
(ค) สถานที่ปลูก
(ง) เดือนและปีที่รวบรวม
หน้า ๖
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(จ) รุ่นการผลิต
(ฉ) น้ําหนักสุทธิ
(ช) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้รับอนุญาตผลิต
(ซ) ข้อความอื่นที่รัฐมนตรีเห็นสมควรระบุเพิ่มเติมในฉลากโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๙) ดําเนินการตามแผนการผลิตและแผนการใช้ประโยชน์ตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถ
ดําเนินการตามแผนการผลิตหรือแผนการใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้ ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือเลขาธิการทราบตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้
(๑๐) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อ
เลขาธิการภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้
ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๑๑) แจ้งวันและเวลาการเก็บเกี่ยวเฮมพ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการควบคุมการเก็บเกี่ยว แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่
รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
หลังจากได้ดําเนินการเก็บเกี่ยวเฮมพ์แล้ว ส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องให้ดําเนินการทําลาย
ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมบันทึกหลักฐานและภาพถ่าย
(๑๒) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๑๓) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๒ ให้ผู้รับอนุญาตจําหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์ของ
การจําหน่าย เช่น สถานที่จําหน่ายเมล็ดพันธุ์รับรอง แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ ชื่อผู้รับอนุญาต และ
เวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
หน้า ๗
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(๒) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ
(๓) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๔) ดูแลให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตจัดให้มี
ตามข้อ ๑๑ (๘) มิให้ชํารุดบกพร่อง
(๕) ดําเนินการตามแผนการจําหน่ายตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการ
ตามแผนการจําหน่ายดังกล่าวได้ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการทราบตามแบบที่เลขาธิการ
กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถดําเนินการ
ดังกล่าวได้
(๖) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อเลขาธิการ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่
ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๗) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๘) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๓ ให้ผู้รับอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์
ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์ของ
การมีไว้ในครอบครอง เช่น สถานที่เก็บเฮมพ์เพื่อแปรสภาพ แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ ชื่อผู้รับอนุญาต
และเวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ สถานที่
ที่ได้รับอนุญาต
(๒) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ

(๓) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๔) ดูแลให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตจัดให้มี
ตามข้อ ๑๑ (๘) มิให้ชํารุดบกพร่อง
(๕) ดําเนินการตามแผนการใช้ประโยชน์ ตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการ
ตามแผนการใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการทราบตามแบบ
ที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถ
ดําเนินการดังกล่าวได้
(๖) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อเลขาธิการ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่
ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๗) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๘) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ต้องการทราบปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
ในยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ให้ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ หากผล
การตรวจวิเคราะห์ปรากฏว่ามีปริมาณสารดังกล่าวเกินกว่าที่กําหนด ให้ผู้ส่งตรวจแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อควบคุมการทําลาย

บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๕ ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐ
เป็นผู้ขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์
ตามกฎกระทรวงนี้ และให้คณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานเพื่อเสนอรัฐมนตรีพิจารณาทบทวน
ความเหมาะสมในการอนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาขออนุญาตได้ ในกรณีที่คณะกรรมการ
พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาของบทเฉพาะกาลนี้ต่อไปอีกสองปี

ข้อ ๑๖ ในระหว่างที่ยังไม่มีเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต
และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือกฎกระทรวง
ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด
ให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ และได้รับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืชก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
น้อยกว่าร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ผลิตและมีไว้ในครอบครองเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
เฉพาะเฮมพ์ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ถือว่าเป็นหนังสือสําคัญตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ
ข้อ ๑๘ บรรดาคําขอรับอนุญาตและคําขอรับใบแทนใบอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้
ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคําขอรับหนังสือสําคัญหรือคําขอรับใบแทนหนังสือสําคัญตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม
ในกรณีที่คําขอดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคําขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาต
มีอํานาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมและส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามความจําเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.