Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

สำนักงานศาลยุติธรรม – |”ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง” เปิดทำการ 3 ต.ค. 2559

สำนักงานศาลยุติธรรม

“สำนักงานศาลยุติธรรม”

ลิงค์: https://iqepi.com/36145/ หรือ
เรื่อง: “ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง” เปิดทำการ 3 ต.ค. 2559


“ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง” เปิดทำการ 3 ต.ค. 2559

เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเปิดทำการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 แต่เปิดทำการจริงวันที่ 3 ตุลาคม 2559 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเผยแพร่ พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 โดยที่การทุจริตและประพฤติมิชอบมีผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคม และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ประกอบการทุจริตและประพฤติมิชอบในระยะที่ผ่านมาได้ทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยืสินของแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และจากการดำเนนินโยบายในการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง ส่งผลให้มีคดีทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นสู่ศาลากขึ้น สมควรจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ” มีขอบเขตอำนาจพิจารณาคดีอะไรบ้าง 1

               ทั้งนี้ ตามร่างจัดตั้งศาลฯ ที่ สนช.ลงมติผ่านแล้ว บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ หมายถึง

               (1) คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือทุจริตต่อหน้าที่ 

               (2) คดีอาญาที่ฟ้อง ให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลธรรมดาที่กระทำความผิดฐานฟอกเงิน ที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดตาม (1) หรือทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ, กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือ ประพฤติมิชอบ

               (3) คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษบุคคลธรรมดาเกี่ยวกับการเรียก รับ หรือให้สินบน หรือการใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจหรือข่มขืนใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ, ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำใด

               (4) คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

               (5) คดีอาญาที่ฟ้อง ให้ลงโทษบุคคลที่ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลตาม (1)-(4) ไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือผู้สมคบ 

               (6) คดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินฯ หรือจงใจยื่นบัญชีและเอกสารด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

               (7) คดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปกติ

               “ชาญณรงค์” อธิบายให้ฟังง่ายๆ ว่า คดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ จะเป็นคดีที่ ป.ป.ช., ป.ป.ท. และพนักงานสอบสวน สรุปสำนวนส่งให้อัยการ ยื่นฟ้อง ข้าราชการทุกระดับ และคดีที่มีเอกชนร่วมกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ

               ตามกฎหมายทุจริตและประพฤติมิชอบที่ระบุไว้เป็นความผิดด้วย เช่น เอกชน กับเอกชน ร่วมกันทำผิดฮั้วประกวดราคา หรือความผิดเกี่ยวกับเสนอสินบนของเอกชน หรือการใช้อิทธิพล สั่งการ ครอบงำเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งคดีที่ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุข้าราชการมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ส่วนคดีทุจริต และคดีจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ยังคงอยู่ในอำนาจศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

               “ศาลอาญาคดีทุจริตฯ จะมีศาลที่อยู่ส่วนกลาง 1 แห่งและภาคถึง 9 แห่ง ทำให้ใช้เวลาไม่นานในการพิจารณาคดีหนึ่งๆ อีกทั้งใช้ระบบไต่สวน ที่พิจารณาคดีติดต่อกันอย่างต่อเนื่องจนเสร็จการพิจารณาคดี รูปแบบศาลอาญาคดีทุจริตฯ ยังมีถึง 3 ชั้นศาล คืออุทธรณ์-ฎีกาได้ แต่ยื่นการฎีกาจะเป็นระบบการขออนุญาตโดยศาลฎีกาตรวจดูว่าเป็นการถ่วงคดี หรือมีเหตุควรยื่นฎีกาหรือไม่”

               “ชาญณรงค์” ยังชี้ให้เห็นว่า กฎหมายจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริต ฯ ถือว่า ครบเครื่องที่จะแก้ปัญหาทั้งเรื่องจำเลยหลบหนีคดี เพราะมีบทบัญญัติให้ลงโทษสำหรับจำเลยที่หนีคดี โดยคดีหยุดการนับอายุความระหว่างที่จำเลยหนีคดี และคดีสามารถเดินหน้าสืบพยานในชั้นศาลต่อไปได้ และมีคำพิพากษาโดยไม่ต้องมีตัวจำเลย อีกทั้งหากจำเลยจะอุทธรณ์คดีก็ต้องมายื่นเอง หากหลบหนีก็ถือสละสิทธิ์นั้นไป ศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้วว่าอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้น

               ส่วน “คดีริบทรัพย์” หากไปทำทุจริตแล้วได้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดมา อย่างเช่น สิทธิที่ไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจ การค้า ที่สามารถตีประโยชน์นั้นเป็นมูลค่าได้ ก็จะตามริบหมด เพราะบางครั้งการทุจริตอาจไม่ได้เป็นเงินอย่างที่เห็นก็ได้ หรือแม้ทรัพย์ที่ได้มาจากการทุจริตหายไปแล้ว ก็จะต้องตีเป็นมูลค่าเงินว่ากี่ล้าน แล้วตามยึดจากทรัพย์สินอื่น

               การจัดองค์คณะก็มีความสำคัญ ซึ่งการพิจารณาคดีต้องมีระดับหัวหน้าคณะ ที่ผ่านการเป็นหัวหน้าศาลมาแล้ว อายุงานอย่างน้อย 25 ปี ส่วนลูกคณะ ก็ต้องผ่านการทำคดีมาแล้วอย่างน้อย 10 ปี

1จากเว็บไซต์ คมชัดลึก http://www.komchadluek.com/news/scoop/231274

ดาวน์โหลดไฟล์ สำนักงานศาลยุติธรรม คลิกที่ลิงค์ด้านล่าง
แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 |

Comments

comments