“ปฏิรูปตำรวจ”
ลิงค์: https://iqepi.com/31506/ หรือ
เรื่อง: ยุบเลิก&ถ่ายโอนภารกิจ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจท่องเที่ยว,ตำรวจทางหลวง,ตำรวจป่าไม้
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
ปฏิรูปตำรวจ เริ่มจากสรุปผลการประชุมนี้ได้มาเมื่อ ม.ค. 58 น่าสนใจสำหรับ สรุปผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และกระบวนการทำงานตำรวจเพื่อประโยชน์ของประชาชน ครั้งที่ 3 เกี่ยวกับ “การกระจายอำนาจการบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการถ่ายโอนภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปราอาชญากรรมไปให้หน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแทน” เพราะจากสรุปผลการประชุมครั้งที่ 3 ผลจากการถ่ายโอนภารกิจ ส่งผลให้อาจจะต้องยุบเลิกหน่วยงานตำรวจที่มีภารกิจซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น เช่น
- ยุบเลิกตำรวจทางหลวง ตำรวจรถไฟ และตำรวจจราจร โดยโอนภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรและขนส่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน หรือกระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี ส่วนภารกิจการตรวจตรารักษาความปลอดภัยบนถนนหลวง หรือในเส้นทางจราจรให้เป็นอำนาจของตำรวจท้องที่ ซึ่งปัจจุบันตำรวจท้องที่ปฏิบัติภารกิจนี้ร่วมอยู่ด้วยแล้ว
- ยุบเลิกตำรวจป่าไม้ หรือตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันอยู่แล้วหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และตำรวจท้องที่ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานตำรวจดังกล่าวมาปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกันอีก
- ยุบเลิกตำรวจท่องเที่ยว เนื่องจากปัจจุบันงานด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวมีตำรวจท้องที่เป็นส่วนปฏิบัติการหลักและเป็นผู้รับผิดชอบคนแรกต่อเหตุการณ์ทุกเรื่องที่เกิดกับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาซ้ำซ้อนกันอีก ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร ขาดเอกภาพ และความรับผิดชอบ อีกทั้งเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น เรียกรับผลประโยชน์จากธุรกิจผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว
- หน่วยงานตำรวจที่ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งเกินขีดความสามารถ หรือมีเครือข่ายการกระทำความผิดเกินเขตอำนาจของตำรวจท้องที่ เช่น การปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี การค้ามนุษญ์ การคุ้มครองผู้บริโภค และการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นต้น ให้ยังคงหน่วยงานดังกล่าวไว้ โดยให้กระทรวง ทบวง กรม ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับภารกิจดังกล่าว สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม แต่จะต้องมีการติดตามประเมินผลงานและความคุ้มค่าของการตั้งหน่วยงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง หรือหากเห็นว่าหน่วยงานดังกล่าวใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ในทางทุจริต ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ หรือไม่มีความคุ้มค่าก็ให้พิจารณายุบเลิกหน่วยงานดังกล่าวเสีย
และในสรุปการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการทำงานตำรวจเพื่อประโยชน์ของประชาชนในคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 10
- กทม. สามารถรับโอนภารกิจด้านการจราจร และการสอบสวนในความผิดบางประเภท โดยขอแก้ไขพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น และในสรุปการประชุม ฉบับที่ 12 ได้ระบุว่าา กทม.ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ในส่วนที่แก้ไขของกรุงเทพมหานคร ให้คณะอนุกรรมาธิการเรียบร้อยแล้ว โดยกรุงเทพมหานครรับโอนภารกิจงานจราจรเฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา
- กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและกรมป่าไม้ พร้อมดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงานรองรับภารกิจที่จะมีการถ่ายโอน
- กรมทางหลวง สามารถรับโอนเฉพาะในส่วนที่เป็นเรื่องเทคนิคทางหลวง เนื่องจากมีข้อจำกัด เช่น เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ กรณีรับโอนอำนาจการสอบสวน มีความจำเป็นเรื่องจัดตั้งหน่วยงาน อัตรากำลัง การฝึกอบรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ การทำคดีเพื่อส่งให้พนักงานอัยการ และในสรุปการประชุม ฉบับที่ 12 ได้เสนอยกร่างกฎหมายส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง และร่างพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ของกองตำรวจทางหลวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ไปเป็นของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
- การรถไฟแ่หงประเทศไทย พร้อมรับโอนภารกิจ ขอเพิ่มเติมในส่วนของอำนาจการสอบสวน จับกุม ในเขตพื้นที่รถไฟและแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่าย
- กรมการท่องเที่ยว ยังไม่มีข้อสรุป
สำหรับการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนในกิจการตำรวจ ตามที่เคยแจ้งไว้แล้วก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ ตำรวจท้องถิ่น (คลิกี่นี่) ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องตำรวจไม่มียศที่หลายท่านสนใจ และบางทีนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่ตำรวจไม่มียศไม่สามารถเปิดรับสมัครสอบได้เสียที อาจจะต้องรอการปฏิรูปให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจ เพราะในผลการสรุปครั้งที่ 5 เกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปตำรวจนั้นได้มีการพิจารณารูปแบบของการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนในกิจการตำรวจ ดังนี้
- ตำรวจเทศกิจ
- ตำรวจท้องถิ่น
- ในลักษณะหุ้นส่วนการปฏิบัติงานร่วมกัน (Partnership) ระหว่างหน่วยงานตำรวจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชน
ในสรุปผลการประชุมฉบับที่ 11 ในส่วนของ กทม. จะรับโอนเฉพาะอำนาจหน้าที่ตาม พรบ. 22 ฉบับ ที่กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบ และต้องมีการออกกฎหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครสามารถใช้เครื่องพันธนาการและเครื่องมือในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้เอง
ส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนถึงขณะนี้..ยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากต้องพิจารณานการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมากทั้งจากฝ่ายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และฝ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะนอกจากการถ่ายโอนอำนาจแล้วท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วมเกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจด้วย โดยเฉพาะเรื่อของการสนับสนุนหรือจัดสรรงบประมาณให้แก่ตำรวจโดยตรงจะขัดในหลักการเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
ส่วนที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนี้เกี่ยวกับการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับการแยกหน่วยงานสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีอาญาแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์อิสระไม่ขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจ หรือจะให้เป็นหน่วยงานอิสระแต่ยังขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นยังไม่มีข้อสรุป