Categories
รายงานพิเศษ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร –  ทำความรู้จักกับ Digital Economy

"กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร –  ทำความรู้จักกับ Digital Economy"

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=15675 หรือ
ตำแหน่ง: ทำความรู้จักกับ Digital Economy
ระดับการศึกษา:
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง:
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: –


จากแนวคิดของรัฐบาลยุคพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คนล่าสุดเกี่ยวกับนโยบาย Digital Economy โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานในการดำเนินการนโยบายเรื่องนี้ ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับโครงสร้างของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอย่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เสียใหม่ เพื่อให้สามารถทำงานตอบโจทย์ตามนโยบาย Digital Economy แบบเชิงรุก

แนวคิดหลักของนโยบายนี้คือ ต้องนำ ดิจิตอล เข้าไปเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้องตลอดจนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

การจะทำให้ Digital Economy ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี ของรัฐบาลนี้คือการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 9 คน โดย 3 ใน 9 คนนี้ คือ นายมนู อรดีดลเชษฐ์ อดีต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ,นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนายสิทธิชัย โภไคยอุดม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที

 ***เผยแผนปรับกระทรวงใหม่


แหล่งข่าวในคณะทำงานกล่าวว่า คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่เข้ามาปรับโครงสร้างของกระทรวงไอซีที ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่ ซึ่งแนวคิดในตอนนี้ชื่อของกระทรวงจะเปลี่ยนเป็น กระทรวงดิจิตอลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้ชื่อนี้หรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาชื่อที่เหมาะสมเพราะต้องคิดชื่อให้สอดคล้องสำหรับการเรียกเป็นภาษาอังกฤษด้วย

ชื่อของกระทรวงใหม่นี้จะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของกระทรวงให้ทำงานสอดรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพราะทุกกระทรวงล้วนแต่ต้องนำดิจิตอลเข้าไปขับเคลื่อน ดังนั้นกระทรวงนี้ต้องเป็นผู้ประสานและเป็นกระทรวงหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

สำหรับขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระทรวงต้องเริ่มต้นที่การแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับนโยบาย Digital Economy ประกอบด้วย พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ,พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ,พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตลอดจนการตั้ง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการโอนย้ายตั้งกรม กอง ใหม่ในกระทรวง เพื่อให้สามารถเพิ่มกรมในกระทรวงไอซีทีได้ ควบคู่กับการหาความชัดเจนในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งทับซ้อนกับการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการเดินหน้าการทำงานต่อไป 

แนวคิดในการเพิ่มกรมในกระทรวงนั้นก็เพื่อให้การทำงานของกระทรวงไอซีทีสอดรับในมิติการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยกรมที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วย กรมแรก คือกรมที่ดูแลเรื่องการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งต้องนำดิจิตอลช่วยอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงไอซีทีต้องดำเนินการ กรมที่สองคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมดิจิตอลเกี่ยวกับสังคม ทำให้ดิจิตอลเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน และกรมที่เกี่ยวกับ ไซเบอร์ คอนเทนต์ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ไอทีอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการควบคุมดูแลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังต้องแก้ พ.ร.ฎ. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เพื่อปรับบทบาทขององค์กรให้สอดรับกับแนวคิด Digital Economy ด้วย ขณะที่เรื่องของบุคลากรที่ต้องเพิ่มเติมนั้น คณะทำงานมีแนวคิดในการดึงบุคลากรจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มาเข้าสังกัดของกระทรวงไอซีทีด้วย โดยนักวิจัยที่จะมาต้องมีคุณสมบัติหลักคือสามารถเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมที่ต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้

สำหรับระยะเวลาในการทำงาน คาดว่าภาย 2-3 เดือนจะสามารถหาข้อสรุปของการปรับแก้กฎหมายและส่งเรื่องให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเสร็จ จากนั้นแนวคิดต่างๆที่กล่าวมาก็จะเริ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่ การขับเคลื่อนของกระทรวงใหม่จะเกิดขึ้นบนกฎหมายใหม่ นโยบายต่างๆก็ต้องกำหนดขึ้นให้สอดคล้อง ซึ่งหากหลังจากรัฐบาลชุดนี้หมดวาระในการบริหารงานกฎหมายต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับรัฐบาลใหม่ในการบริหารงานต่อไป ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบจะเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยงไม่ทำตามแนวนโยบายที่ตั้งไว้ ตามกฎหมาย ไม่ได้

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

'หากจะทำให้เรื่องนี้สำเร็จจริงๆ ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี แต่นี่คือหลักสูตรเร่งรัด เพราะรัฐบาลชุดนี้ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี ดังนั้นต้องเร่งเคลียร์กฎหมายให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน เมื่อกฎหมายผ่าน แนวนโยบายต่างๆที่คณะทำงานคิดขึ้นก็จะถูกนำเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาต่อไป'

*** พร้อมรับนโยบาย Digital Economy

ด้านนายพรชัย รุจิประภา รมว.ไอซีที กล่าวว่า เรื่องการขอบุคลากรจากเนคเทคมาอยู่ในสังกัดกระทรวงไอซีทีนั้นในเบื้องต้นได้พูดคุยกับ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่จะมาต้องเต็มใจมาและทางกระทรวงไอซีทีต้องเตรียมตำแหน่งให้ค่าตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาวไว้รองรับ เรื่อง Digital Economy เป็นเรื่องใหญ่ที่กระทรวงไอซีทีรับมาจากรัฐบาลโดยตรง ด้วยการทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการประสานงานกับทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานที่ต้องนำดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้อง

กระทรวงต้องทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการนำไอซีทีเข้าไปใช้ประโยชน์กับองค์กรต่างๆ รวมถึงการนำออกมาสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมด้วย เช่น การส่งเสริมการใช้ไอซีทีกับเอสเอ็มอี เป็นต้น ทุกเรื่องที่มีไอซีที กระทรวงต้องดูแลและ กระทรวงต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการระดับชาติในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ

'นโยบายนี้เป็นนโยบายระยะยาว เราต้องผลักดันให้เกิดแนวคิดในรัฐบาลนี้เพื่อให้รัฐบาลต่อไปสามารถนำไปสานต่อได้ นโยบายนี้เหมือนการทำเรื่องอีสเทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวเหมือนกันกว่าจะเห็นผล ต้องประสานกับหลายหน่วยงาน ซึ่งผมเคยทำมาก่อน และนี่ก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลสนใจชวนผมมาทำงานในตำแหน่งนี้ เพราะเรื่องนี้ต้องประสานกับหลายกระทรวง อุปสรรคของกระทรวงที่ผ่านมาคือการประสานงานกับกระทรวงอื่น รัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในอันดับ 7-10 ของพรรค เวลาไปคุยกับรัฐมนตรีในกระทรวงอื่นเขาใหญ่กว่า หรืออาจจะเป็นคนละพรรคซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายของกระทรวงไอซีที การประสานงานก็เลยยาก'

ขณะที่นายพันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า ทางเนคเทคไม่ได้ขัดข้องอะไรสำหรับเรื่องนี้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนักวิจัยแต่ละคนเอง ซึ่งเรื่องนี้หาก
รัฐมนตรีของทั้ง 2 กระทรวง เจรจากันได้ ทางเนคเทคก็ไม่ขัดข้อง

*** เผยรายชื่อร่วมแก้ปัญหาทับซ้อน

ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานได้เสนอรายชื่อเข้าไปเป็นคณะทำงานร่วมกับกระทรวงไอซีที เพื่อร่วมกันทำงานแก้กฎหมายและกรอบการทำงานที่ทับซ้อนกันแล้ว 4 คนประกอบด้วย เลขาธิการกสทช., นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ ด้านกิจการโทรคมนาคม ,นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. และผู้เชี่ยวชาญพิเศษของกสทช. โดยปลัดกระทรวงไอซีทีทำหน้าที่เป็นประธานและเลขาธิการกสทช.จะทำหน้าที่เป็นรองประธาน

'กฎหมายที่ทางกสทช.เห็นว่าทับซ้อนกับกระทรวงไอซีที คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ,พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ,พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งเรื่องนี้ต้องนำเรื่องเสนอเข้า สนช.คาดว่าจะเสร็จภายในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2558'

ขณะที่ในด้านรายชื่อคณะทำงานร่วมกับ กสทช.ของฝั่ง กระทรวงไอซีทีนั้น นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีทีเปิดเผยรายชื่อว่าประกอบด้วย นางทรงพร โกมลสุรเดช รองปลัดกระทรวงไอซีที ,นางอารีวรรณ ฮาวรังษี ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ นายสมศักดิ์ ศุภจิราวัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะทำงาน

*** กฎหมายที่ต้องแก้ให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม 2558

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การตั้ง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการโอนย้ายตั้งกรม กอง ใหม่ในกระทรวงและต้องแก้ พ.ร.ฎ. ของซิป้า

*** กรมที่จะตั้งขึ้นใหม่

1.กรมที่ดูแลเรื่องการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ
2.กรมพัฒนาและส่งเสริมดิจิตอลเกี่ยวกับสังคม
3.กรมที่เกี่ยวกับ ไซเบอร์ คอนเท็นต์

*** วัตถุประสงค์

1.ต้องนำดิจิตอลช่วยอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงไอซีทีต้องดำเนินการ
2.เพื่อทำให้ดิจิตอลเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน
3.เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ไอซีทีอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการควบคุมดูแลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000110478

สมัครงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งานราชการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับสมัคร สอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2557 สอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 57 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดสอบ


วิธีการสมัครงาน  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร :ตนเอง  
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ:
สอบวันที่:
ประกาศผลสอบ:

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.