มีบางท่านถามเกี่ยวกับ.. ธนาคารกรุงไทยเป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่?? และอีกหลายหน่วยงานใดบ้างที่สังกัดกระทรวงการคลัง
คำตอบครับ^^
—————————
ปี 2496 มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กำหนดให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์การของรัฐบาลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยตรงเป็นพระราชกฤษฎีกาขึ้นได้ ตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจหรือช่วยเหลือในการครองชีพหรืออำนวยบริการแก่ประชาชนโดยใช้เงินทุนจากงบประมาณ แผ่นดิน พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นรากฐานของการก่อกำเนิดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งกระทรวงการคลัง มีรัฐวิสาหกิจในสังกัดประกอบด้วย
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด
2. ธนาคารออมสิน
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
5. โรงงานสุรา
6. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
7. โรงงานยาสูบ
8. โรงงานไพ่
9. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด
10. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
ปัจจุบันมี..
หน่วยงานในสังกัด
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
- กรมบัญชีกลาง
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
- กรมสรรพากร
- กรมสรรพสามิต
- กรมศุลกากร
- กรมธนารักษ์
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
รัฐวิสาหกิจในสังกัด
- ธนาคารกรุงไทย
- สลากกินแบ่งรัฐบาล
- ธนาคารออมสิน
- บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส.
- องค์การสุรา
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- โรงงานยาสูบ
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
- โรงงานไพ่
- SME Bank
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- บสย. SBCG
- บตท. SMC
หน่วยงานอิสระ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- กลต. sec.or.th
- คปภ. oic.or.th
หน่วยงานในกำกับ
- สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
- สวค. fpri.or.th
- กบข. gpf.or.th
- กยศ. studentloan.or.th
- สพพ. NEDA
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: KRUNG THAI BANK PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:KTB)[1] เป็นธนาคารของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยการควบกิจการของธนาคารมณฑลและธนาคารเกษตร ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ทั้งคู่ และใช้ชื่อธนาคารใหม่ที่เกิดจากการควบรวมว่า “ธนาคารกรุงไทย จำกัด” มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปนกวายุภักษ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลัง โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยนำวงกลมออก และเปลี่ยนสีตราสัญลักษณ์รวมถึงสีธนาคารเป็นสีฟ้าอ่อน
ในระยะแรกของการก่อตั้ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนเยาวราช วัตถุประสงค์ของการรวมธนาคารทั้งสองให้เป็นของรัฐ เพื่อให้มีฐานะการเงินมั่นคง บริการกว้างขวาง ผลการดำเนินงานดีขึ้นตามลำดับ จนสำนักงานใหญ่เดิมที่ถนนเยาวราช คับแคบ จึงย้ายสำนักงานมาที่ 35 ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้สำนักงานนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ธนาคารกรุงไทยได้เริ่มดำเนินกิจการมา มีการเจริญเติบโตที่มั่นคง รวดเร็ว มีการปรับปรุง และขยายองค์กรงานใหม่ ซึ่งตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2531 ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวในสมัยนั้น ที่มีสาขาและเอทีเอ็ม (ATM) ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
ธนาคารเข้าสู่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 26 มิถุนายน 2532 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่นำหุ้นเข้าซื้อ-ขายในตลาด หลักทรัพย์ฯ โดยเริ่มเปิดการซื้อ-ขายหุ้นของธนาคารตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม 2532 จนกระทั่งในวันที่ 24 มีนาคม 2537 ธนาคารกรุงไทยก็ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนภายใต้ชื่อ “ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Krungthai Bank Public Company Limited”
ธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลัง โดยถือหุ้นผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ที่มา: กระทรวงการคลัง,วิกิพีเดีย