ภาวะ Government Shut down ของสหรัฐอเมริกา ในรอบ 17 ปี อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2556 หลังจากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องงบประมาณปี 2557 จากความขัดแย้งของสองพรรคการเมือง ในเรื่องนโยบายการประกันสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา (โอบามาแคร์) ที่ต้องการให้เปิดโอกาสให้คนอเมริกันเข้าถึงการรักษาพยายาบาลได้ดีขึ้น คือการทำประกันสุขภาพ
นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดหน้าผาการคลัง (Fiscal cliff) รอบ 2 ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะในสหรัฐฯ หากไม่สามารถขยายเพดานหนี้สาธารณะ (Debt Ceiling)
ผลกระทบต่อประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยน นำเข้า-ส่งออก
——————————-
– US Government Shutdown หมายถึง การปิดการดำเนินงานของส่วนงานที่ไม่ได้มีความสำคัญเร่งด่วน
– QE (Quantitative Easing – การผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน)
– Fiscal Cliff หมายถึง การที่เศรษฐกิจของประเทศสูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการคลังอย่างฉับพลันและรุนแรง เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตินั้นสิ้นสุดลง ยิ่งมาตรการนั้น ๆ มีขนาดใหญ่มากเท่าไร เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจสูญเสียแรงส่งมากขึ้นเท่านั้น และนั่นหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกฉุดให้ลดต่ำลงหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอยก็เป็นได้ ดังนั้นเหตุการณ์เช่นนี้จึงเปรียบเสมือนกับว่าเศรษฐกิจ “ตกหน้าผาการคลัง”