Categories
รายงานพิเศษ

ความคืบหน้า – สอบตำรวจไม่มียศ&ตำรวจ+ท้องถิ่น

“ความคืบหน้า –  ตำรวจไม่มียศ&ตำรวจ+ท้องถิ่น”

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=14672 หรือ
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


เมื่อเรื่องสอบตำรวจไม่มียศกลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง ที่แต่เดิมเริ่มเรื่องจากกลุ่มผู้สนใจสอบแข่งขันเข้ารับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ต่อเมื่อ คสช.มีประกาศออกมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ก็เลยเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่ได้สนใจที่จะสอบแข่งขันเข้ารับราชการ เพราะเป็นสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจมากกับ “ตำรวจไม่มียศ” ทั้งที่เพียงเริ่มต้นกับโครงการ CRIME เท่านั้น ไม่ได้ไปเกี่ยวกับสายงานปัจจุบันแบบเดิมๆ การสอบสายอำนวยการและสนับสนุน ชั้นสัญญาบัตร ที่มีชั้นยศ สำหรับบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็ยอมรับว่าน่าจะเกิดปัญหากรณี “ข้ามห้วย” การข้ามไปมียศก็ไม่มีปัญหา แต่การข้ามมาฝั่งไม่มียศ ตรงนี้คงต้องรอดู พรฎ.ข้าราชการตำรวจไม่มียศ แต่ตามสรุปข้อสั่งการในการประชุม ศปก.ตร.ครั้งที่ 104/57 (251)(228) เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ก.ค. 2559 โดยมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. เป็นประธาน ก็ได้ระบุรายละเอียดไว้ว่าเป็นข้าราชการตำรวจ “ชั้นประทวน” ปฏิบัติงานในสายอำนวยการสนับสนุนและเทคโนโลยีของสถานีตำรวจ

https://www.iqepi.com/news01/2014-07-30_132906.jpg

อาจจะเพราะในวันเดียวกันได้ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 111/2557 ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เอา ประกาศ คสช. ทั้งฉบับที่ 111/2557 กับ 114/2557 มาปะติปะต่อกัน ทีนี้ถ้าฟังแต่ข่าวไม่เห็นประกาศอาจทำให้สับสนจึงเอาประกาศที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาดูรายละเอียดอีกครั้ง

หลังจากที่ได้ก่อนหน้านี้ได้แจ้งข่าวเรื่อง การสอบตำรวจไม่มียศ ถ้าติดตามประกาศของ คสช. ในระยะนี้ มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 3 ฉบับที่น่าสนใจ ตามวิทยุในราชการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 ได้มีการกล่าวถึง ประกาศ คสช. ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ลงวันที่และมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน คือ 21 กรกฎาคม 2557 ทั้ง 3 ฉบับ

ซึ่งทั้งหมดก็เคยนำมาแจ้งให้ทราบแล้ว จากเว็บไซต์ข่าว ในภาพสรุปภาพรวมคร่าวๆ สั้นๆ ที่มาจากการสัมภาษณ์ รรท.ผบ.ตร. พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ (คลิกที่นี่) แต่ก็อยากให้ดูในรายละเอียดที่เป็นประกาศของ คสช. ทั้ง 3 ฉบับ ตามวิทยุในราชการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2557 สรุปสั้นๆ ดังนี้

1. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 111/2557 ลงวันที่ 21 ก.ค.2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ มาตรา 7 เกี่ยวกับการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ฯลฯ

2. ประกาศ คสช.ฉบับที่ 114/2557 ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ตามมาตรา 8 เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ โดยให้มีระบบการบริหารงานบุคคล เงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฯลฯ

3. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 115/2557 ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 21 เรื่องอำนาจการสืบสวนสอบสวน มาตรา 142 และมาตรา 145 เรื่องการสอบสวนสามัญ

ในที่นี่จะขอกล่าวถึงเพียง 2 ฉบับ คือ ประกาศ คสช. 111/2557 และ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 114/2557 เพื่อความต่อเนื่องกับความคืบหน้าของการรับสมัครสอบตำรวจไม่มียศ ที่ได้แจ้งให้ทราบไปก่อนหน้านี้


 

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 114/2557
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจโดยให้มีระบบการบริหารงานบุคคล เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมาย่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 8 ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดประเภทตำแหน่ง วิธีการกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การบรรจุ การแต่งตั้ง การบังคับบัญชา วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมทั้งการปรับยศและปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวตลอดจนการอื่นตามที่จำเป็น

การกำหนดอัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับและการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศสำหรับตำแหน่งแต่ละประเภท ให้นำกฎหมายว่าด้ยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง แล้วแต่กรณี

พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ”

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

สรุปก็คือเปลี่ยนแปลงเฉพาะ

“การรับและการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศสำหรับตำแหน่งแต่ละประเภท ให้นำกฎหมายว่าด้ยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง แล้วแต่กรณี”

จากข่าวก็คาดว่าประมาณ 1-2 เดือนก็สามารถออก พรฎ.ข้าราชการตำรวจไม่มียศได้


ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 111/2557
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด

การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนนั้น”

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


 

จริงๆ แล้วยังมีประกาศ คสช. ที่มีการยกเลิก/แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 อยู่หลายฉบับ ซึ่งหากต้องใช้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอบ ก็คงต้องติดตามเพิ่มเติม เท่าที่พบตอนนี้มี 5 ฉบับ

1. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 87 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่

2. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 88 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่

3. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 89 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่

4. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 111 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่

5. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 114 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่


ความเห็นส่วนตัว..ความเป็นไปได้ของ “ตำรวจท้องถิ่น”

พยายามจะเรียบเรียงบทความนี้ด้วยความระมัดระวังหาหลักฐานและข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้มากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการมีเพียงสัญญาณอ่อนๆ ผ่านประกาศ คสช. ทั้ง 2+3 ฉบับเพราะเรื่องการปฏิรูปตำรวจที่เป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ค่อนข้างเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ และบางทีนี่คือการเริ่มเคลื่อนไหวสำหรับการปฏิรูปตำรวจ

จากประกาศ คสช.ทั้ง 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 111/2557 และ ฉบับที่ 114/2557 ทำให้เริ่มคิดว่าหรือนี่คือส่วนหนึ่งของการ “ปฏิรูปตำรวจ” ไม่นับรวมถึงฉบับที่ 87,88,89 อีก 3 ฉบับที่ก็มีการยกเลิก/แก้ไข/เปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ

สำหรับประกาศ คสช. ฉบับที่ 111/2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ มาตรา 7 เกี่ยวกับการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ฯลฯ

ในรายละเอียดมันช่างสอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูปตำรวจที่ว่าให้แยกงานบางส่วนออกไปจากทบวงตำรวจ เช่น ตำรวจท่องเที่ยว, ตำรวจรถไฟ, ตำรวจน้ำ, ตำรวจตระเวนชายแดนให้ไปขึ้นกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ให้แต่ละภาคแต่ละจังหวัดรวมไปถึงนครใหญ่มีกิจการตำรวจของตนเองเหมือนกับในต่างประเทศ ซึ่งหากทำได้ก็จะไปสัมพันธ์กับแนวคิดกระจายอำนาจ สตช. ก็ยิ่งทำให้จินตนาการเตลิดไปว่า ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะมี..”ตำรวจท้องถิ่น” หรือเปล่า?? เพราะจากรายละเอียดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 111/2557 ในลักษณะงานที่ปฏิบัติจะไปสอดคล้องกับ.. “สายงานป้องกันและปราบปราม” มากๆ คือ “ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน”

โดยอาจจะรับโอนมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามสัดส่วนที่ตกลงกันระหว่าง สตช. กับ อปท. หรือจะเปิดรับสมัครใหม่ ดังย่อหน้าสุดท้ายของประกาศฉบับนี้ที่ว่า “การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนนั้น” เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หรือเฉพาะที่ได้ยกตัวอย่าง เพราะนั่นยังไม่นับรวมถึง ตำรวจดับเพลิง ที่ไปสังกัด กทม. ก็เป็นอีกตัวอย่างที่สนับสนุนความน่าจะเป็นของการปรับโครงสร้างขององค์กรตำรวจ ในรูปแบบใหม่เหมือนกิจการตำรวจในสากลนั่นคือ “เป็นตำรวจของท้องถิ่น”

ถ้าเอามาผูกกับ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 114/2557 เกี่ยวกับเรื่องชั้นยศแล้ว เว็บข่าวออนไลน์บางแห่งยังกล่าวว่าประกาศสองตัวนี้จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกันและกัน จึงลองกลับมาดูรายละเอียดอีกครั้งและเห็นว่าว่าในลักษณะของ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 111/2557 ได้ให้ความสำคัญไปที่งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งข้าราชการตำรวจในสายงานป้องกันและปราบราม จำเป็นต้องเข้าศูนย์ฝึกฯ โดยในขณะที่ฝึกนั้นจะเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ยังอยู่ในชั้นพลตำรวจ ซึ่งไม่มีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องหาได้จนกว่าจะฝึกจบครบหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจแล้วจึงจะได้เลื่อนเป็นชั้นประทวน และติดยศเป็น ส.ต.ต. หรือสิบตำรวจตรี หรือที่นิยมเรียกว่านายสิบตำรวจ จึงจะสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ หากจะให้นายตำรวจเหล่านี้ไปสังกัดอยู่กับท้องถิ่นโดยไม่ติดยศให้ ก็อาจจะต้องแก้ไขหลักสูตรการฝึกการอบรม หรืออาจต้องยุบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น และลดรูปแบบการฝึกแบบมีชั้นยศลง

อย่างไรก็ยังเป็นเพียงการคาดการณ์จากสถานการณ์แวดล้อม และข้อมูลต่างๆ ที่พอจะหาได้ ก็จะขอลองเดาเล่นๆ ดูว่าจะถูกหรือไม่กับ.. “ตำรวจท้องถิ่น” ^^

สมัครงาน ความคืบหน้า งานราชการ ความคืบหน้า รับสมัคร สอบ ความคืบหน้า 2557 สอบ ความคืบหน้า 57 ความคืบหน้า เปิดสอบ


คลิกเลือกหน้า: 1 2 3 4

Comments

comments