Categories
เหตุการณ์ปัจจุบัน

เหตุการณ์ปัจจุบัน: ความรู้พื้นฐาน..อาเซียน & ประชาคมอาเซียน

สรุปเหตุการณ์ปัจจุบัน ภาษาชาวบ้าน..

อาเซียน (ASEAN) มีมาก่อนตั้งแต่ปี 2510 โดยมีชาติสมาชิิกที่ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อตั้ง รวมมาจนถึงปัจจุบันก็ 10 ประเทศ มีกัมพูชาเป็นประเทศสุดท้ายที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก

ต่อมาเมื่อปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน เพื่อให้เกิด “ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY)” ภายในปี 2020 แต่ในปี 2551 ก็เร่งรัดมาเป็นปี 2015

 

1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ยังมีอีก 2 เสา ไม่ใช่เสาไฟฟ้ากับเสาอากาศแน่นอน แต่เป็น..ASCC กับ APSC โดย AEC จะพูดเรื่องเศรษฐกิจ, ASCC พูดเรื่องสังคมและวัฒนธรรม, APSC ว่ากันด้วยเรื่องการเมือง

พอมองภาพรวมหมด ทั้ง 3 เสาหลักแล้วจะทราบว่ามีหน่วยงานสำคัญๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมายแทบจะทุกหน่วยงาน รวมกันทั้งหมดก็จะกลายเป็นหลักสูตรการสอบหัวข้อ เหตุการณ์ปัจจุบัน พอดีเลย “สังคม เศรษฐกิจ การเมือง”

เนื่องจากบาง เว็บไซต์ได้รวมเอา อาเซียน กับประชาคมอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในความรู้สึกส่วนตัวหากเข้าใจเช่นนั้น จะเกิดความสับสนระหว่าง ไทยเข้าร่วมอาเซียนปี พ.ศ.ใด? กับ ไทยเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. ใด?

 

 

เหตุการณ์ปัจจุบัน ที่ควรทราบเพื่อเตรียมสอบงานราชการ เปิดสอบ

สมาคมประชาชาติแห่งเอชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN)

 

ก่อ ตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ทำให้มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ โดยมีประเทศกัมพูชาเป็นสมาชิกล่าสุด

 

คำขวัญ

“One Vision, One Identity, One Community”
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

สัญลักษณ์อาเซียน
“รวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

asean

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง
หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุงจากาตาร์

เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)

ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (วันอาเซียน)

กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

กฎบัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ

โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการจัดตั้ง 

ประชาคมอาเซียน : ASEAN COMMUNITY

ให้สำเร็จในปี 2558 (ค.ศ.2015) 

เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซี่ยนจากเดิมที่กำหนดไว้เป็นปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020)

 

 

มีวิสัยทัศน์ สร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ได้มีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน หรือ ธรรมนูญอาเซียนในปี 2551

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะ ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก

1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3. ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน

 

แผนการจัดตั้ง..ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Blueprint)

เน้น 5 เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม สร้างอัตลักษณ์อาเซียน สิทธิมนุษยชน

เป้าหมายหลัก

1. สร้างประชาแห่งสังคมที่เอื้ออาทร

2. แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

3. ส่งเสริมความยั่งยืนและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง

4. ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสาร

แผนการจัดตั้ง..ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)

เน้นเรื่อง

1. เปิดเสรีการค้า สินค้า บริการ การลงทุน ตลาดทุน และ แรงงานฝีมือ (7 สาขา วิศวกร, สถาปนิก, นักสำรวจ, แพทย์, พยาบาล, ทันตแพทย์ และนักบัญชี)

2.ช่วยเหลือประเทศที่มีการพัฒนาน้อยกว่า

เป้าหมายหลัก

1. เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว

2. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

3. พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4. บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

แผนการจัดตั้ง..ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint)

เป้าหมายหลัก

1. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกัน เช่น ไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์

2. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามความมั่นคง

3. ให้ประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก

โดยใช้อาเซียนเป็นบทบาทนำในภูมิภาค

—————————————————-

สำหรับ ในประเทศไทย กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจะทำหน้าที่เป็น สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามข้อ 13 ของกฎบัตรอาเซี่ยน ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

 

ภาครัฐมีหน้าที่กำหนดเป้าหมาย ทิศทางยุทธศาสตร์ของประเทศและการใช้ประโยชน์จากประชาคมอาเซียน

บทบาทของภาคราชการ

1. พัฒนาระบบ

2. ปรับปรุงกฎหมาย

3. พัฒนาบุคลากร (ภาษา-วัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน-ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน)

 

การ ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซี่ยน ครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 20 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศเขมร ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2555โดยให้ความสำคัญกับการสร้างประชาคมอาเซี่ยน โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้เสนอเสาที่ 4 เพื่อให้คนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

Comments

comments