Categories
เหตุการณ์ปัจจุบัน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกข้อกำหนดนั่งแคปไม่ต้องคาดเข็มขัดดาวน์โหลดติดรถไว้เลย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ลิงค์: https://iqepi.com/38386/ หรือ
เรื่อง: ออกข้อกำหนดนั่งแคปไม่ต้องคาดเข็มขัดดาวน์โหลดติดรถไว้เลย


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกข้อกำหนด นั่งแคปไม่ต้องคาดเข็มขัด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกข้อกำหนด เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของรถยนต์ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ทำให้รถกระบะ หรือรถบรรทุกส่วนบุคคล ข้อ 3(ฉ) ให้รัดเข็มขัดเฉพาะคนขับและผู้โดยสารตอนหน้า ซึ่งระบุไว้ในส่วนของเงื่อนไขและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ข้อ 4 (3) ไม่ได้ระบุว่าผู้โดยสารในแคปต้องรัดเข็มขัด ประกาศในราชกิจจาฯ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 60 มีผลบังคับใช้ทันที

ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของรถยนต์ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย

ตามที่กรมตำรวจได้ออกข้อกำหนด เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของรถยนตร์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2540 ไว้แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการกำหนดประเภทและชนิดของรถยนต์ที่จะบังคับให้มีการใช้เข็มขัดนิรภัยเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำ สั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม 2560 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของรถยนต์ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2540

ข้อ 2 ให้ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งซึ่งติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์การติดตั้งและคุณสมบัติของเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 และประกาศกรมการขนส่งางบก เรื่อง กำหนดแบบเข็มขัดนิรภัยและประเภทของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ต้องจัดให้มีเข็มขัดนิรภัย พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2555

ข้อ 3 ประเภทและชนิดของรถยนต์ที่ต้องใช้เข็มขัดนิรภัยตามข้อ 2 ได้แก่

(1) ประเภทและชนิดของรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่
(ก) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน
(ข) รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
(ค) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
(ง) รถยนต์บริการ
(จ) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
(ฉ) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
(ช) รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

(2) ประเภทและชนิดของรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(ก) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง (เฉพาะรถตู้โดยสาร) ในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล

(ข) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง (ลักษณะอื่นที่มิใช่ รถตู้โดยสาร) และรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกินกว่า 20 ที่นั่ง ในประเภทการขนส่งประจำทาง หมวด 2 และหมวด 3 การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล

(ค) รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ทุกประเภทการขนส่ง
(ง) รถที่ใช้ในการขนส่ง ในประเภทการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก

ข้อ 4 การใช้เข็มขัดนิรภัยตามข้อ 3 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการ ดังต่อไปนี้

(1) รถตามข้อ 3(1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ที่จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นไป รถตามข้อ 3(1) (ช) และรถยนต์ส่วนบุคคลที่เปลี่ยนประเภทมาจากรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(2) รถตามข้อ3(๑) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ที่จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารทุกที่นั่ง ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(3) รถตามข้อ 3(1) (จ) และ (ฉ) ที่จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารที่นั่งตอนหน้า ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(4) รถตามข้อ 3 (1) (จ) ที่ผลิตหรือนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารทุกที่นั่ง ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย เว้นแต่เป็นรถยนต์ลักษณะนั่งสองแถว ให้ผู้ขับขี่และคนโดยสารที่นั่งตอนหน้า ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(5) รถตามข้อ 3(2) (ก) และ (ข) ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารทุกที่นั่ง ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(6) รถตามข้อ 3(2) (ค) ที่ผลิต ประกอบ นำ เข้า หรือจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารทุกที่นั่ง ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

(7) รถตามข้อ 3(2) (ง) ที่จดทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารที่นั่งตอนหน้า ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย
ความในวรรคหนึ่ง (5) (6) และ (7) ไม่ให้ใช้บังคับกับที่นั่งตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ที่นั่งผู้ขับรถและที่นั่งผู้โดยสารตอนหน้าที่มีการจัดวางที่นั่งตามความยาวของรถซึ่งไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย

เมื่อผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารตามวรรคหนึ่งขึ้นนั่งประจำที่นั่งของตนแล้ว ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย โดยใช้สายรัดร่างกายยึดเข้ากับที่นั่งของตนและต้องไม่ให้สายรัดหลุดออกได้การปลดเข็มขัดนิรภัยต้องกระทำได้โดยง่าย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560
พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

ดาวน์โหลดไฟล์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คลิกที่ลิงค์ด้านล่าง
ประกาศ 1 |

 

Comments

comments