Categories
รายงานพิเศษ สอบตำรวจ-ทหาร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ – |

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ลิงค์: https://iqepi.com/37014/ หรือ
เรื่อง: กฎ ก.ตร. (ฉบับที่ 2)


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กฎ ก.ตร. ตั้งที่ปรึกษาพิเศษ-ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

 

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๓๒ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๔/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกอบกับมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ตร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๑/๑ ของหมวด ๑ บททั่วไป ของกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๙
“ข้อ ๑๑/๑ ตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติรวมถึงตําแหน่งที่จะคัดเลือกแต่งตั้งทดแทนตําแหน่งตามข้อ ๒๘/๑ (๓) มิให้นํามานับเป็นตําแหน่งว่างเพื่อนํามาคํานวณสัดส่วนจํานวนตำแหน่งในการพิจารณาเลื่อนตําแหน่งสูงขึ้นตามข้อ ๑๑”

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๘/๑ ของบทที่ ๓ วิธีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งของผู้มีอํานาจ
ของหมวด ๓ วิธีปฏิบัติในการดําเนินการคัดเลือกหรือแต่งตั้ง ของกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้ง
ข้าราชการตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๙
“ข้อ ๒๘/๑ การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตํารวจดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงาน
ตํารวจแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อจากข้าราชการตํารวจที่ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการ และรองผู้บังคับการ หรือตําแหน่งเทียบเท่า แล้วแต่กรณี
(๒) การคัดเลือกข้าราชการตํารวจตาม (๑) ให้พิจารณาจากผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีระยะเวลาการดํารงตําแหน่งตามข้อ ๑๖
(ข) เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ห้าสิบเก้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีเวลาราชการเหลือไม่เกินหกเดือน
(๓) ให้พิจารณาข้าราชการตํารวจที่จะคัดเลือกแต่งตั้งเรียงตามลําดับอาวุโสจนครบกรอบจํานวนตําแหน่ง ในกรณีที่มีตําแหน่งว่างเหลือจากการพิจารณาดังกล่าวผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สามารถคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตํารวจนอกจาก (๒) (ข) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีความเหมาะสม ที่จะได้รับการเลื่อนตําแหน่งสูงขึ้นให้ดํารงตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ว่างนั้นและทดแทนผู้นั้นได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกรอบจํานวนร้อยละห้าสิบของจํานวนตําแหน่งว่าง โดยมิให้ปัดเศษทศนิยมเป็นจํานวนเต็ม ข้าราชการตํารวจผู้ใดที่ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สํานักงานตํารวจแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติตามวรรคสองเมื่อถึงวาระการแต่งตั้งประจําปีให้ผู้มีอํานาจดําเนินการคัดเลือกแต่งตั้งผู้นั้นไปดํารงตําแหน่งอื่นทุกราย โดยห้ามมิให้คัดเลือกแต่งตั้งไปดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
และผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้รองรับการคัดเลือกแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตาม (๒)

(๔) การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตํารวจตาม (๑) (๒) และ (๓) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้ดําเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนของทุกปี เว้นแต่การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตํารวจให้ดํารงตําแหน่งในคราวแรกนี้ ให้ดําเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ หากการคัดเลือกแต่งตั้งได้เริ่มดําเนินการแต่ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ไม่ถือว่าการดําเนินการ
ที่ทํามาแล้วต้องเสียไป”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการข้าราชการตํารวจ

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ คือ โดยที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคําสั่ง ที่ ๔๔/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ แก้ไขมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตํารวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอนเพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจ ประกอบกับได้มีการกําหนดตําแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิสํานักงานตํารวจแห่งชาติ สมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน
ตํารวจแห่งชาติ จึงจําเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้

Comments

comments