Categories
เหตุการณ์ปัจจุบัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย – |พร้อมเพย์ – PromptPay เริ่มแล้ววันนี้ (15 ก.ค.59)

ธนาคารแห่งประเทศไทย

“ธนาคารแห่งประเทศไทย”

ลิงค์: https://iqepi.com/35391/ หรือ
เรื่อง: พร้อมเพย์ – PromptPay เริ่มแล้ววันนี้ (15 ก.ค.59)


ธนาคารแห่งประเทศไทย

บริการโอนเงินและรับโอนเงินรูปแบบใหม่ที่ กระทรวงการคลังผลักดันในการสร้างระบบฐานข้อมูลกลางเชื่อมต่อบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับ-โอนเงิน ทั้งจากภาครัฐกับประชาชน และการรับ-โอนเงินของประชาชนกับประชาชน หรือระหว่างประชาชนกับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการชำระเงินแบบ Any ID ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติของรัฐบาล หรือ National e-Payment

ด้วยการใช้ “เลขประจำตัวบัตรประชาชน” หรือหมายเลขโทรศัพท์ ผูกเข้ากับบัญชีเงินฝากไม่ว่าจะเปิดบัญชีของธนาคารใดในประเทศ แทนการใช้หมายเลขบัญชีธนาคาร ช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทย และเป็นการอำนวยความสะดวกให้การดำเนินธุรกรรมทางการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อทุกภาคส่วน

สำหรับภาครัฐ – การโอนเงินจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของบุคลากรในส่วนราชการต่างๆ การรับเงินบำเหน็จบำนาญ หรือการรับเงินเบี้ยยังชีพ หรือจ่ายคืนเงินภาษี หรือสวัสดิการอื่นๆ จากภาครัฐ ก็มั่นใจได้ส่งตรงถึงมือแน่นอน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-commerce รองรับกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หรือ Digital Economy (Nation Digital Economy Committee)

สำหรับภาคประชาชน – การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกสบายมากขึ้นไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคารที่จดจำยาก เพียงใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์แทน การทำธุรกิจที่รับชำระเงินด้วยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารอย่างการขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็สะดวกมากขึ้น ที่สำคัญค่าธรรมเนียมการโอนถูกมากๆ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  • โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ  ฟรี ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียม
  • โอนเงิน 5,000-30,000  บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
  • โอนเงินมากกว่า 30,000-100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ 
  • โอนเงิน 100,000 บาท ขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ

แต่มีเงื่อนไขในการผูกบัญชีธนาคารกับเลขที่ประจำตัวบัตรประชาชน/หมายเลขโทรศัพท์ ดังนี้

  1. 1 บัญชี ต่อ 1 เลขที่บัตรประชาชน
  2. 1 บัญชี ต่อ 1 หมายเลขโทรศัพท์
  3. 1 บัญชี ต่อ 1 เลขที่ประจำตัวบัตรประชาชน และ 1 หมายเลขโทรศัพท์
  4. 1 บัญชี ต่อ 1 เลขที่ประจำตัวบัตรประชาชน และ 3 หมายเลขโทรศัพท์
  5. สามารถผูกบัญชีได้สูงสุด 4 บัญชี

สามารถผูกบัตรประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคารได้ด้วยการลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

  1. Application สำหรับใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือของธนาคารที่เปิดบัญชี
  2. Internet Banking ของธนาคารที่เปิดบัญชี
  3. ตู้เอทีเอ็ม
  4. เคาน์เตอร์ธนาคารที่เปิดบัญชี

โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นการลงทะเบียนล่วงหน้า ผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้รับการแจ้งผลผ่านทาง SMS ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559

อนาคตร้านค้าต่างๆ ก็จะมีเครื่องรับชำระเงินแทนการใช้เงินสดที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ e-Payment

เมื่อหยิบบัตรประชาชนมาดูเห็น “ชิพ” ก็สะดุดใจทำให้นึกถึงเรื่องที่ธนาคารพาณิชย์พร้อมใจกันเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากแถบแม่เหล็กเป็นชิปการ์ดทั้งหมด โดยมีกำหนดในปลายปี 62 บัตรแบบแถบแม่เหล็กก็จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป จะเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่

 

ดาวน์โหลดไฟล์ ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่ลิงค์ด้านล่าง
แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 |

 

Comments

comments