Categories
รายงานพิเศษ

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล –  โครงการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ใครก็ขายได้ ต้นทุน 70.40 ต่อฉบับ จองได้ตั้งแต่ 5-50 เล่ม (เล่มละ 100 ฉบับ)

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

“สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล”

ลิงค์: https://iqepi.com/32427/ หรือ
เรื่อง: โครงการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ใครก็ขายได้ ต้นทุน 70.40 ต่อฉบับ จองได้ตั้งแต่ 5-50 เล่ม (เล่มละ 100 ฉบับ)


สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ร่วมมือกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำโครงการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายย่อยตัวจริงสามารถซื้อสลากได้โดยตรงจากสำนักงานฯ ตามจำนวนและตามความสามารถในการจำหน่ายของตนเอง แต่ไม่เกิน 50 เล่ม ผ่านระบบของธนาคารกรุงไทย และรับสลากโดยตรง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ที่แจ้งความประสงค์ไว้

วันที่ 2 กันยายน 2558 พลตรีอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า นับจากสำนักงาน ฯ ได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา โดยจัดทำแผนดำเนินการ Road Map 3 ระยะ ระยะที่ 1 คือการจัดระเบียบและบังคับใช้กฎหมาย เน้นการกวดขันการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งนับว่าเราสามารถควบคุมราคาสลากให้จำหน่ายในราคา 80 บาทได้ จากนั้นสำนักงาน ฯ ได้ดำเนินการตาม Road Map ระยะที่ 2 ของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเป็นห้วงการปรับแผนและกำหนดทิศทางการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสลาก ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ ในการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากทุกประเภท และมอบหมายให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นและเก็บข้อมูลจากตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ต่างจังหวัด ทุกภูมิภาค จัดเสวนาร่วมกับนักวิชาการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

พลตรีอภิรัชต์ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือต้องการให้สำนักงาน ฯ จัดสรรสลากให้กับผู้จำหน่ายสลากที่แท้จริง ตามจำนวนเล่มที่สามารถจำหน่ายได้จริง จึงเป็นที่มาของโครงการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งโครงการนี้จะตอบสนองผู้ที่มีความต้องการจะเป็นผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้สามารถเข้ามาซื้อสลากจากสำนักสลากฯ ได้โดยตรงตามจำนวนและความสามารถในการขายของตนเอง แต่ไม่เกิน 50 เล่มคู่ เพื่อนำไปขายให้กับประชาชน โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทั้งนี้สำนักงาน ฯ ได้รับความร่วมมือจากบมจ.ธนาคารกรุงไทย จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการซื้อ-จองสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านระบบของธนาคารฯ และอีกความร่วมมือที่ได้รับจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าสลาก ให้รับสลากได้โดยตรงจากที่ทำการไปรษณีย์ตามที่ผู้ค้าสลากต้องการ สำนักงานฯ เชื่อว่า โครงการดังกล่าวจะสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงการเป็นผู้ค้าสลากที่แท้จริงได้ รวมทั้งตอบสนองศักยภาพในการจำหน่ายสลากของผู้ค้าสลาก แก้ปัญหาต้นทุนการเดินทางส่งผลให้มีกำไรเพียงพอในระดับพอยังชีพได้จริง และที่สำคัญคือสามารถจำหน่ายสลากได้ในราคาที่กำหนดได้ในระยะยาวต่อไป

นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทางธนาคารฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือเพื่อช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว โดยทางธนาคาร ฯ จะเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ต้องการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยหลักการสำคัญของโครงการคือ ผู้ที่ต้องการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล จะต้องทำการลงทะเบียนผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารทุกสาขา หรือทางเว็บไซต์ของสำนักงานฯ (www.glo.or.th) และจะต้องเปิดบัญชีกับธนาคารฯ ในสาขาที่ต้องการทั่วประเทศ เนื่องจากระบบนี้จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากเท่านั้น โดยสามารถทำการซื้อ – จอง ผ่านระบบของทางธนาคารทั้ง 3 ช่องทาง ได้แก่ ผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทยกว่า 1,200 สาขาทั่วประทศ ผ่านระบบ ATM และระบบ Net Bank ตนเชื่อว่า โครงการนี้จะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อ-จองสลากกินแบ่งรัฐบาลสามารถเข้าถึงสลากได้อย่างสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายปิยะวัตร์ มหาเปารยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส รักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะอำนวยความสะดวกในการจัดส่งสลากให้กับผู้ที่ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามที่ทำการไปรษณีย์ที่ลงทะเบียนไว้ และผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งฯ สามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งผ่านระบบ Track&Trace ได้ทุกขั้นตอนของการจัดส่งตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับรายละเอียดการดำเนินการขอให้ติดตามที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

ดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ประกาศ | เว็บไซต์ |

Comments

comments